หาดทรายละเอียดกว้างยาวขนานไปกับแนวต้นสนสูงชะลูดริมทะเล มองเห็นคลื่นลูกเล็กๆเคลื่อนเข้ามากระทบฝั่งอย่างแผ่วเบา ผืนน้ำระยิบระยับสะท้อนแดดยามเย็นนั้น ค่อนข้างราบเรียบไม่มีคลื่นอันเกรี้ยวกราด อาจพรางสายตาให้คิดว่าไม่น่าจะเหมาะกับการเล่นเซิร์ฟ แต่สำหรับ “ต๊ะ – ทวีโรจน์ เอี๋ยวพานิช” เขามองว่า ที่นี่คือสวรรค์สำหรับการโต้คลื่น
ก่อนที่จะมาเป็น “ประธานชมรมกระดานโต้คลื่นจังหวัดพังงา” ทวีโรจน์ บ่มเพาะแรงบันดาลใจมาจากความทรงจำในวัยเด็กที่ได้ดูหนังเกี่ยวกับเซิร์ฟ และรู้สึกชอบ กระทั่งเมื่อมีโอกาสไปเรียนที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย หนึ่งในเมืองแห่งการเล่นเซิร์ฟระดับโลก เขาได้เห็นบรรยากาศของ Surf Culture ที่ผู้คนให้ความสนใจกับกีฬาประเภทนี้จนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน เมื่อกลับมาเมืองไทย ทวีโรจน์จึงหอบความฝันที่อยากจะร่วมกันกับคนในชุมชนพัฒนาให้พังงามีความเป็น Surf Town โดยอาศัยคนท้องถิ่นเป็นผู้มีส่วนในการขับเคลื่อน ชายหาดที่มีชื่อว่า “Memories Beach” ในพื้นที่เขาหลัก เป็นฐานที่มั่นของหนุ่มนักเซิร์ฟรายนี้ ด้วยที่ตั้งซึ่งมีลักษณะคล้าย Hidden Beach ไม่ติดถนนใหญ่ ต้องขับรถผ่านถนนดินลูกรังขรุขระ และป่าธรรมชาติไร้การปรุงแต่ง เข้าไปอีกราว 1 กิโลเมตร จึงจะเจอชุมชนเล็กๆของกลุ่มคนที่ตกหลุมรักในเสน่ห์การโต้คลื่น ยิ่งเพิ่มความน่าหลงใหลให้ผู้มาเยือนรู้สึกถึงความพิเศษ ประสบการณ์การเดินทางไปหลายประเทศในเอเชีย ทวีโรจน์พบว่า ประเทศไทยก็มีความเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นการเล่นเซิร์ฟได้เป็นอย่างดี “เขาหลัก ไม่มีโขดหิน หรือปะการัง และพื้นที่ในการเซิร์ฟ ก็มีระดับน้ำลึกประมาณเอวเท่านั้นเอง” นั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่เขามองว่า ชายหาดของพังงาแห่งนี้เหมาะสำหรับนักเซิร์ฟทุกประเภท แม้แต่คนที่ว่ายน้ำไม่เป็นก็ตาม
“เซิร์ฟเป็นกีฬาที่เอาคนเมือง มาสัมผัสกับธรรมชาติครับ” เขากล่าว “เราพาตัวเองไปกับคลื่น ไม่ได้ออกไปปะทะคลื่น” สำหรับการเล่นเซิร์ฟในเมืองไทย ถ้าวัดความยาก 1-10 ก็น่าจะอยู่ที่ระดับ 1-3 ซึ่งเป็นข้อดีของนักเซิร์ฟมือใหม่ ว่ายออกไปกลางทะเล ฝึกเรียนรู้การจับคลื่น แล้วก็กลับมา
ทวีโรจน์เล่าว่า มีการทำข้อมูลสื่อสารออกไปว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งโต้คลื่นที่น่ามาเยือน โดยเฉพาะเขาหลัก เป็นจุดเล่นเซิร์ฟที่มีความโดดเด่น เช่น มีพื้นที่เซิร์ฟที่เลี้ยวซ้าย หรือขวายาวที่สุดในประเทศไทย สามารถยืนบนกระดานได้ 1 นาทีเต็มๆ เมื่อว่ายออกไปจากฝั่งประมาณ 100 เมตร ปัจจุบันกิจกรรมเซิร์ฟในเขาหลักกำลังอยู่ในกราฟที่ทะยานขึ้น เป็นกระแสที่โตอย่างก้าวกระโดด ในปี 2020 ที่ผ่านมา ที่คนไทยไม่ได้ไปต่างประเทศ และกีฬาประเภทนี้ก็เริ่มเป็นที่แพร่หลาย ทำให้มีปริมาณนักท่องเที่ยวเข้ามาเล่นเซิร์ฟในพังงามากถึง 8,000 คน ทั้งจากมือใหม่ที่บอกกันปากต่อปาก ด้วยบรรยากาศของทะเลพังงาที่คล้ายต่างประเทศ รวมถึงการมีร้านอาหารระดับมิชลินที่ให้นักท่องเที่ยวรู้สึกว่าเป็นจุดหมายที่มีสีสันหลากหลาย
นอกจากนี้ กระแสดังกล่าวยังเสริมด้วยแบรนด์ดังอย่าง Roxy ที่จัด Global Campaign การเฉลิมฉลอง International Women’s Day เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้เชิญสองสาวนักเซิร์ฟชาวไทยไปร่วมในคลิปดังกล่าวเผยแพร่ไปทั่วโลกด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ เรมี – อาทิต์ยา จันทร์ประเสริฐ นักกีฬาเซิร์ฟทีมชาติไทยนั่นเอง
“ในเมืองไทยมีสมาคมโต้คลื่น มีนักกีฬาไทยที่ไปแข่งขันได้เหรียญในระดับนานาชาติ ภาพลักษณ์ของการเล่นเซิร์ฟในเมืองไทยจึงเกิดขึ้นได้จริง” “เซิร์ฟยังเป็นกีฬาที่ทำให้คนรักธรรมชาติ และรักทะเลครับ” นักเซิร์ฟมือโปรเอ่ยถึงข้อดีอีกด้านที่อยากให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้ “เพราะไม่มีนักเซิร์ฟคนไหนอยากเห็นขยะในทะเล และเราก็ใส่ใจแม้แต่เรื่องครีมกันแดดที่ต้องไม่เป็นผลเสียต่อปะการัง”
การเติบโตของเซิร์ฟ ส่งผลให้ในวันนี้ ทะเลเขาหลักไม่ใช่เป็นเพียงแค่แหล่งพักผ่อน แวะมานอนอยู่ในรีสอร์ทอีกต่อไป หากแต่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์ของการเป็นเซิร์ฟทาวน์ และกำลังก่อร่างสร้างวัฒนธรรมแห่งเซิร์ฟที่คนท้องถิ่นช่วยกันสร้างขึ้น
“เซิร์ฟเป็นกีฬาที่เอาคนเมือง มาสัมผัสกับธรรมชาติครับ” เขากล่าว “เราพาตัวเองไปกับคลื่น ไม่ได้ออกไปปะทะคลื่น” สำหรับการเล่นเซิร์ฟในเมืองไทย ถ้าวัดความยาก 1-10 ก็น่าจะอยู่ที่ระดับ 1-3 ซึ่งเป็นข้อดีของนักเซิร์ฟมือใหม่ ว่ายออกไปกลางทะเล ฝึกเรียนรู้การจับคลื่น แล้วก็กลับมา
ทวีโรจน์เล่าว่า มีการทำข้อมูลสื่อสารออกไปว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งโต้คลื่นที่น่ามาเยือน โดยเฉพาะเขาหลัก เป็นจุดเล่นเซิร์ฟที่มีความโดดเด่น เช่น มีพื้นที่เซิร์ฟที่เลี้ยวซ้าย หรือขวายาวที่สุดในประเทศไทย สามารถยืนบนกระดานได้ 1 นาทีเต็มๆ เมื่อว่ายออกไปจากฝั่งประมาณ 100 เมตร
นอกจากนี้ กระแสดังกล่าวยังเสริมด้วยแบรนด์ดังอย่าง Roxy ที่จัด Global Campaign การเฉลิมฉลอง International Women’s Day เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้เชิญสองสาวนักเซิร์ฟชาวไทยไปร่วมในคลิปดังกล่าวเผยแพร่ไปทั่วโลกด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ เรมี – อาทิต์ยา จันทร์ประเสริฐ นักกีฬาเซิร์ฟทีมชาติไทยนั่นเอง
“ในเมืองไทยมีสมาคมโต้คลื่น มีนักกีฬาไทยที่ไปแข่งขันได้เหรียญในระดับนานาชาติ ภาพลักษณ์ของการเล่นเซิร์ฟในเมืองไทยจึงเกิดขึ้นได้จริง”
การเติบโตของเซิร์ฟ ส่งผลให้ในวันนี้ ทะเลเขาหลักไม่ใช่เป็นเพียงแค่แหล่งพักผ่อน แวะมานอนอยู่ในรีสอร์ทอีกต่อไป หากแต่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์ของการเป็นเซิร์ฟทาวน์ และกำลังก่อร่างสร้างวัฒนธรรมแห่งเซิร์ฟที่คนท้องถิ่นช่วยกันสร้างขึ้น
More Information
– เซิร์ฟซีซั่นของทะเลฝั่งอันดามัน เริ่มตั้งแต่ เมษายน-ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงโลว์ซีซั่นของการท่องเที่ยวทะเล จึงหมายถึง การมีกิจกรรมเซิร์ฟทำให้เราสามารถไปเที่ยวทะเลอันดาได้ทั้งปี
– การเรียนและลองเล่นใช้เวลาประมาณ 3 ชม. ฝึกพื้นฐานทฤษฎี 1 ชม. เซิร์ฟกับครู 1 ชม. จากนั้นเล่นฟรีอีก 1 ชม. ราคาเริ่มต้นที่ 1,000-1,500 บาท
– ทักษะพื้นฐานของคนที่ออกกำลังกายอยู่แล้ว ย่อมได้เปรียบ เช่น การว่ายน้ำ ดำน้ำ โยคะ แต่ใครว่ายน้ำไม่เป็นก็เล่นได้ แจ้งล่วงหน้าก็มีครูที่ดูแลเฉพาะ
facebook.com/surferholiday
โทร.08-1956-5654