เข็มขัดนิรภัย 3 จุด นวัตกรรมที่พัฒนาโดยวิศวกรวอลโว่

ซึ่งปล่อยให้นำไปใช้ฟรี จนช่วยเซฟชีวิตผู้ใช้รถยนต์กว่าล้านคนทั่วโลก
ชวนขึ้นรถยนต์และคาด ‘เข็มขัดนิรภัย 3 จุด’ ซึ่งกำเนิดโดยวิศวกรสหรัฐฯ ก่อนถูกต่อยอดโดยวิศวกรสวีเดน และแพร่หลายจนช่วยเซฟชีวิตผู้ใช้รถยนต์กว่าล้านคนทั่วโลก จากการปล่อยให้นำไปใช้ฟรีโดย Volvo 

เข็มขัดนิรภัยในรถยนต์

จุดเริ่มต้น เข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ ต้องย้อนกลับไปในปี 1949 ซึ่ง เข็มขัดนิรภัย 2 จุด (Two-Point Safety Belt) หรือ แบบสายคาดเอว เริ่มถูกนำไปใช้ในรถยนต์อย่างเป็นกิจจะลักษณะ โดย Nash Motors Company บริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติสหรัฐฯ ช่วงยุค 1916-54

โดย เข็มขัดนิรภัย 2 จุด ถูกติดตั้งอยู่ในไลน์การผลิตรถยนต์ 40,000 คัน ของบริษัทในปี 1949 แต่กลับเจอกระแสต่อต้านจากลูกค้า ซึ่งมองว่าเป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีความจำเป็น 

กอปรกับการที่ยังไม่มีกฎหมายบังคังให้คาดเข็มขัดนิรภัย ทำให้ Nash Motors Company ได้รับออเดอร์สำหรับติดตั้ง เข็มขัดนิรภัย 2 จุด จากลูกค้าเพียง 1,000 คน ตลอด 1 ปีหลังจากปี 1949

ความพยายามในการนำเสนอ เข็มขัดนิรภัย เป็นออปชั่นในรถยนต์ เกิดขึ้นอีกครั้งในปี 1955 โดย Ford Motor Company บริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติสหรัฐฯ ที่ก่อตั้ง ปี 1903 แต่ก็ล้มเหลวด้วยยอดลูกค้าเพียง 2% ที่เลือกจ่ายเงินเพิ่ม สำหรับการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยในรถยนต์ของตัวเอง ในปี 1956 ไม่ได้รับการยอมรับ เพราะเสรีนิยมจัด   เข็มขัดนิรภัย 3 จุด (Three-Point Safety Belt) หรือ เข็มขัดนิรภัยที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายในรถยนต์ทั่วโลกปัจจุบัน ได้รับการคิดค้นและพัฒนา (R&D) โดย วิศวกรชาวอเมริกัน สองคนอย่าง Roger Griswold และ Hugh DeHaven 

ผู้บุกเบิกด้าน ระบบความปลอดภัยเชิงแก้ไข (Passive Safety) หรือ ระบบที่ช่วยลด และหลีกเลี่ยงอันตรายให้แก่ทั้งผู้ขับ และผู้โดยสารรถยนต์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เช่น ถุงลมนิรภัย, เข็มขัดนิรภัย เป็นต้น

โดย เข็มขัดนิรภัย 3 จุด ของ Roger Griswold และ Hugh DeHaven ถูกจดสิทธิบัตรในประเทศสหรัฐฯ ในชื่อ Griswold Restrain (CIR) เมื่อปี 1951
สิทธิบัตรเข็มขัดนิรภัย 3 จุด ของ Roger Griswold และ Hugh DeHaven จุดสังเกต คือ จุดยึดหลักอยู่ที่เบาะนั่งรถยนต์
อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นนวัตกรรมระดับปฏิวัติระบบ Passive Safety ในรถยนต์ แต่กลับไม่ได้รับการยอมรับในตลาดรถยนต์สหรัฐฯ จากความคิดของชาวอเมริกันในยุคนั้น

ซึ่งมองว่า เข็มขัดนิรภัย 3 จุด เป็นเพียงอุปกรณ์ที่ไม่มีประโยชน์ และสร้างความอึดอัดในการใช้งาน ทั้งเป็นสัญลักษณ์ของการจำกัดเสรีภาพ ในช่วงที่สหรัฐฯ กำลังอยู่ในยุคทองของการใช้ชีวิตตามแนวทางเสรีนิยม

จนทำให้ สิทธิบัตรเข็มขัดนิรภัย 3 จุด ของ Roger Griswold และ Hugh DeHaven ไม่เคยถูกนำมาใช้งานจริงในรถยนต์เลย ต่อยอดโดยวิศวกรการบิน ผู้ที่ทำให้นวัตกรรม เข็มขัดนิรภัย 3 จุด ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก คือ นิลส์ โบห์ลิน (Nils Bohlin, 17 July 1920-21 September 2002) ชาวสวีเดนที่เกิดในเมืองแฮร์เนอซันด์ (Hernesand) ประเทศสวีเดน (Sweden)

เส้นทางอาชีพของ นิลส์ เริ่มจากการเป็นวิศกรการบินด้าน R&D เก้าอี้ดีดตัวออก (Ejection Seat) สำหรับนักบิน เมื่อปี 1942 ใน Saab AB บริษัทด้านการบิน อวกาศ และการป้องกันประเทศ สัญชาติสวีเดน
นิลส์ กับนวัตกรรม เข็มขัดนิรภัย 3 จุด ที่เขาพัฒนาขึ้น
นิลส์ ก้าวไปถึงจุดสูงสุดทางอาชีพวิศกรการบิน ด้วยตำแหน่ง หัวหน้าทีม R&D เก้าอี้ดีดตัวออก สำหรับเครื่องบินรบความเร็วเหนือเสียง (Supersonic Plane) ของ Saab AB 

ด้วยระยะเวลาการทำงาน กว่า 16 ปี นิลส์ ได้สั่งสมประสบการณ์ด้าน R&D อุปกรณ์ความปลอดภัย สำหรับเก้าอี้ดีดตัวออกของนักบิน อย่าง เข็มขัดนิรภัย 2 จุด ซึ่งจะกลายมาเป็นวัตถุดิบทางความรู้สำคัญ ที่ผลิดอกออกผลเป็นหนึ่งในนวัตกรรม Passive Safety ในรถยนต์ทั่วโลก เข้าทำงานที่วอลโว่

ปี 1958 นิลส์ เข้าทำงานกับ วอลโว่ (Volvo) บริษัทรถยนต์สัญชาติสวีเดน ที่ปัจจุบัน อยู่ภายใต้ชายตาของ Geely แบรนด์ยานยนต์สัญชาติจีน ที่เข้ามาซื้อกิจการในปี 2010 

ด้วยตำแหน่ง วิศวกร R&D ด้านความปลอดภัยของรถยนต์วอลโว่ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ เข็มขัดนิรภัย 3 จุด ได้รับการพัฒนาต่อยอดอีกครั้ง 

โดย นิลส์ นำความเชี่ยวชาญด้าน R&D เข็มขัดนิรภัย 2 จุด ที่ได้มาตอนทำงาน Saab AB ดังที่เกริ่นไว้ข้างต้น

มาผสานกับ เข็มขัดนิรภัย 3 จุด สำหรับใช้ในรถยนต์ ของ Roger Griswold และ Hugh DeHaven เกิดเป็น เข็มขัดนิรภัย 3 จุด เวอร์ชันอัปเกรด ที่ช่วยเสริมจุดเด่นให้แก่กัน ด้วยการทำงานแบบประยุกต์ จาก เข็มขัดนิรภัย 2 จุด ที่มีประสิทธิภาพระดับใช้งานในเก้าอี้ดีดตัวออกของนักบินยุคนั้น 

มาเชื่อมเข้าเป็นเส้นเดียวกับ สายคาดพาดหน้าอก ซึ่งเป็นจุดเด่นสำคัญของเข็มขัดนิรภัย 3 จุด เพราะสามารถยึดตรึงสรีระของผู้ใช้งาน ทั้ง 3 จุด ไม่ว่าจะเป็น ไหล่ หน้าอก และส่วนสะโพก
รูปทรงตัว V ที่เกิดขึ้นหลังคาดเข็มขัดนิรภัย 3 จุด ของ นิลส์
โดย นิลส์ ได้ย้าย จุดยึดหลัก จากเบาะนั่งรถยนต์ ตามสิทธิบัตรของ Roger Griswold และ Hugh DeHaven ไปไว้ที่โครงสร้างตัวถังรถยนต์ด้านข้างเบาะนั่ง และพื้นรถยนต์ทั้งสองข้างของเบาะนั่ง แทน 

ซึ่งมีข้อดี คือ สามารถทำการยึดสรีระทั้ง 3 จุดข้างต้นของผู้ใช้งาน ด้วยการคาดเข็มขัดนิรภัย เพียงครั้งเดียว ที่จะส่งผลให้เกิดเป็นรูปทรงตัว V หลังจากคาดเป็นที่เรียบร้อย 

โดยวิธีคาดเข็มขัดนิรภัยแบบนี้ จะช่วยให้มีประสิทธิภาพในการยึดตรึงผู้ใช้ มากกว่าแบบเดิม ทั้งสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก ด้วยมือข้างเดียว ติดตั้งครั้งแรกใน Volvo PV544 และเป็นอุปกรณ์มาตรฐานใน Volvo 122 
Volvo PV544 รถยนต์รุ่นแรกของ Volvo ที่ติดตั้งเข็มขัดนิรภัย 3 จุด ของ นิลส์ เพื่อเป็นทางเลือกในการใช้งานให้ลูกค้า
เข็มขัดนิรภัย 3 จุด ของ นิลส์ ใช้เวลา R&D ประมาณ 1 ปี ก่อนเสร็จสมบูรณ์ในปี 1959 โดยนวัตกรรมใหม่นี้ ถูก Volvo นำไปใช้เป็นออปชั่นสำหรับให้ลูกค้าได้เลือกติดตั้งในรถยนต์ครั้งแรก อย่างรุ่น Volvo PV544
Volvo 122 รถยนต์ที่นำเข็มขัดนิรภัย 3 จุด ของ นิลส์ มาติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน
ก่อนกลายมาเป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐาน สำหรับรถยนต์ของ Volvo ในรุ่น Volvo 122 หรือ Volvo Amazon และเป็นจุดขายด้าน Passive Safety ที่ทำให้ Volvo เริ่มกลายเป็นแบรนด์ยานยนต์ ซึ่งเป็นที่รู้จักระดับโลก  อนุญาตให้นำไปใช้ฟรี เพราะความปลอดภัย สำคัญกว่า กำไร

เข็มขัดนิรภัย 3 จุด ของ นิลส์ ถูกนำไปจดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 1962 ก่อนที่ทาง Volvo จะอนุญาตให้แบรนด์ยานยนต์ทั่วโลก สามารถนำสิทธิบัตรนี้ ไปปรับใช้กับรถยนต์ในไลน์ผลิตของตัวเองกันได้ฟรี ๆ
สิทธิบัตรเข็มขัดนิรภัย 3 จุด ของ นิลส์ ที่ย้ายจุดยึดหลัก มาไว้ที่โครงถังด้านข้างตัวรถ และพื้นรถยนต์ทั้งสองข้างของเบาะนั่ง
อลัน เดสเซลล์ (Alan Dessell) กรรมการผู้จัดการของ Volvo เผยว่า เข็มขัดนิรภัย 3 จุด เป็นนวัตกรรมด้าน Passive Safety ที่มีคุณค่า และสามารถสร้างความปลอดภัยให้ผู้ใช้รถยนต์ทั่วโลก ซึ่งเป็นอุดมการณ์ที่ทาง Volvo ให้ความสำคัญสูงสุด มากกว่า การเก็บไว้เป็นเครื่องมือแสวงหาผลกำไร

ซึ่งแนวทางนี้ ส่งผลให้ เข็มขัดนิรภัย 3 จุด ของ นิลส์ ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในวงกว้าง และกลายมาเป็นเข็มขัดนิรภัยที่ผู้ใช้รถยนต์ทั่วโลก ได้ใช้งานกันมาจนถึงปัจจุบัน รีเสิร์ชจาก Volvo 

ปี 1967 นิลส์ และ Volvo ยังได้นำเสนอรายงาน (Report) ที่เก็บเคสการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ผลิตโดย Volvo กว่า 28,000 เคส ตลอดระยะเวลา 1 ปี บนท้องถนนในประเทศสวีเดน

ณ การประชุมด้านความปลอดภัยบนท้องถนนในสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 11 (11th Stapp Car Crash Convention) ซึ่งแสดงผลลัพธ์ว่า เข็มขัดนิรภัย 3 จุด ของ นิลส์ สามารถช่วยลดการเสียชีวิต
ภาพโปรโมต เข็มขัดนิรภัย 3 จุด ของ นิลส์ ที่ติดตั้งอยู่ในรถยนต์ของ Volvo
และอาการบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุให้กับผู้ใช้ ได้มากกว่า 50-60% เมื่อเทียบกับผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ที่ไม่คาด เข็มขัดนิรภัย 3 จุด ของ นิลส์  

จนส่งผลให้ ปี 1968 กระทรวงคมนาคมสหรัฐอเมริกา (United States Department of Transportation หรือ USDOT) กำหนดให้ เข็มขัดนิรภัย 3 จุด ของ นิลส์ กลายเป็นอุปกรณ์บังคับผลิตตามกฎหมาย

สำหรับรถยนต์ทุกคันที่ผลิตในสหรัฐฯ และบังคับให้ผู้ขับขี่รถยนต์ในสหรัฐฯ ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย 3 จุด ของ นิลส์ ด้วยเช่นกัน ทั้งกลายเป็นหนึ่งในชนวนให้กฎหมายนี้ ถูกนำไปบังคับใช้ตาม ๆ กันในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก   

ช่วยชีวิตผู้ใช้รถยนต์กว่าล้านคน ตลอดระยะเวลา 64 ปี        

Volvo ได้ประเมินว่า นับตั้งแต่การสร้าง และอนุญาตให้นำไปใช้งานได้ฟรี ๆ ตั้งแต่ ปี 1959 เข็มขัดนิรภัย 3 จุด ของ นิลส์ ก็สามารถช่วยชีวิตผู้ใช้รถยนต์บนท้องถนนได้มากกว่าล้านคนทั่วโลก ตลอดระยะเวลา 64 ปีที่ผ่านมา

และหากนับเฉพาะปี 1975-2017 เข็มขัดนิรภัย 3 จุด ของ นิลส์ สามารถช่วยชีวิตผู้ใช้รถยนต์บนท้องถนน ได้มากถึงประมาณ 374,196 คน

บรรจุเข้าหอเกียรติยศ

ความสำเร็จของการคิดค้น นวัตกรรมเข็มขัดนิรภัย 3 จุด ส่งให้ นิลส์ ได้รับรางวัลวิศวกรรมความปลอดภัยยานยนต์ (Ralph H. Isbrandt Automotive Safety Engineering Award) ในปี 1974 ก่อนเกษียณจาก Volvo ในตำแหน่ง วิศวกรด้านความปลอดภัยอาวุโส ปี 1985 พร้อมถูกแต่งตั้งให้เข้าสู่ หอเกียรติยศนักประดิษฐ์แห่งชาติ (National Inventors Hall of Fame) 

ถูกบรรจุเข้าหอหอเกียรติยศ ด้านความปลอดภัยและสุขภาพระหว่างประเทศ (Safety and Health Hall of Fame International หรือ SHHOFI) ในปี 1989

ได้รับเหรียญทองเกียรติยศ จาก สถาบันวิทยาศาสตร์วิศวกรรมแห่งสวีเดน (The Royal Swedish Academy of Engineering Science) ในปี 1995

และได้รับการบรรจุชื่อลงใน หอเกียรติยศแห่งวิศวกรรมยานยนต์ (The Automotive Hall of Fame) ในปี 1999 อ้างอิง : 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8

You May Also Like