“ลำพูน เป็นเมืองที่สอดคล้องกับกระแสเมืองโลกในปัจจุบัน เพราะภายในความเงียบสงบนั้น มีคุณค่าซ่อนอยู่” คุณเอก – ไชยยงค์ รัตนอังกูร แสดงความเห็นต่อเมืองบ้านเกิด
อดีตบรรณาธิการบริหาร นิตยสาร Wallpaper* และอดีตผู้อำนวยการ TCDC ยังทำงานเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทสยามพิวรรธน์ เขาต้องเดินทางเทียวไปเทียวมาระหว่างกรุงเทพฯกับลำพูน แต่เมื่ออายุมากขึ้น รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป จึงอยากมีพื้นที่ที่สามารถทำอะไรในรูปแบบของตัวเองได้เต็มที่ ร้านขายอุปกรณ์เครื่องเขียนหลังวัดพระธาตุหริภุญชัยที่ประกาศขายเมื่อไม่นานมานี้ จึงเปลี่ยนหน้าที่มาเป็น “Temple House” พื้นที่สร้างสรรค์ของนักพัฒนาเมือง “ชีวิตผมการทำงานเกี่ยวข้องกับ Art Design มาโดยตลอด อยากมี Private Studio ของตัวเอง Temple House เป็นสถานที่ที่ได้ทำงานของตัวเอง และเห็นมุมมองของเนื้องานโดยละเอียด” แม้ต้องไปทำงานไกลบ้าน แต่ความเห็นของคนที่มีชีวิตวัยเด็กเติบโตมากับลำพูน เขามองว่าเป็นเมืองเงียบเชียบ ไม่ค่อยมีใครสนใจ หรือมีความเคลื่อนไหวอะไร ทว่าความสงบเหล่านั้น สามารถทำให้มองเห็นคุณค่าที่มีอยู่ได้ชัดเจนขึ้น
จากสถิติน่าสนใจว่าจังหวัดลำพูนมีคนฆ่าตัวตายสูง “ผมจึงเกิดคำถามว่า จะทำอะไรให้จังหวัดบ้านเกิดได้บ้าง อยากให้เมืองมีชีวิตชีวามากกว่าที่เป็นอยู่ ถ้าเราทำสำเร็จก็อาจสร้างทัศนคติให้คนในเมือง กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ๆ”
อาคารเก่าหลายสิบปีดัดแปลงมาสู่โครงสร้างร่วมสมัย เปิดโล่งให้แสงสาดส่องผ่านกระจกใสสองด้าน ภายในมีเฟอร์นิเจอร์สีน้ำเงิน และสีเหลืองเติมความสดใส ผนังประดับงานจิตรกรรมสีฉูดฉาด ผลงานของอาจารย์จรูญ บุญสวน จิตรกรสไตล์อิมเพรสชั่นนิสม์ระดับแนวหน้าของประเทศ
Temple House มีชื่อมาจากที่ตั้งซึ่งติดวัดหริภุญชัย ส่วนโลโก้ของร้านเลือกใช้รูปดอกไม้ 3 ดอก สื่อสารถึงชีวิตที่ดี ได้แก่ ดอกสมอ ที่นำมาจากความเป็นเมืองเก่า มีความเชื่อเรื่องพระพุทธองค์เสด็จมาฉันลูกจันสมอ ดอกพิกุล นำมาจากลายผ้าทอในราชสำนักของลำพูน ซึ่งลายผ้ายกดอกลำพูนนับเป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญของท้องถิ่น สุดท้าย คือ ดอกลำไย ตัวแทนของสังคมเกษตรกรรม และอาหารของจังหวัด “การออกแบบตอนแรก ผมนึกถึงคาเฟ่ในนิวยอร์กนะ”
จากแนวคิดว่าร้านที่ใช้จุดขายวัฒนธรรมท้องถิ่นแบบดั้งเดิม มีคนทำไปเยอะแล้ว หากอยากทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง ก็ต้องสร้างสรรค์สิ่งที่มีความแปลกและน่าตื่นเต้นไปด้วย แล้วค่อยนำสองวัฒนธรรมระหว่างท้องถิ่นกับสากลมาผสมผสานกันให้พอดีๆ
“เมื่อคนท้องถิ่นได้เข้ามาในร้าน จะตั้งประเด็นว่า ทำไมถึงมีคนมาทำร้านแบบนี้ในลำพูน หรือใครมาเยือน จะเกิดคำถาม และ คำถามย่อมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง อาจจะมีคนทำตาม เป็นการแสดงให้เห็นศักยภาพของเมืองลำพูนว่าทำแบบนี้ได้” นอกจากความพิถีพิถันเรื่องอาหารและกาแฟเกรดพรีเมียมแล้ว ชั้นสองของ Temple House เป็นสถานที่ที่มีแรงดึงดูดไม่น้อยไปกว่ากัน ห้องโล่งๆดัดแปลงเป็น Art Gallery ที่คุณเอกตั้งใจสร้างไว้เพื่อโชว์ศักยภาพของศิลปินท้องถิ่น “คนลำพูนมีศิลปินที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศ รวมแล้วถึง 16 คนเชียวนะ ผมอยากเปิดโอกาสให้คนท้องถิ่นได้มาจัดแสดง เพื่อให้เห็นว่าสังคมเมืองเล็กๆแบบนี้ ก็สร้างสรรค์งานศิลปะได้ไม่น้อยไปกว่าเมืองใหญ่”
ในทางกลับกัน นอกจากงานแสดงของศิลปินท้องถิ่นแล้ว เขาหวังจะนำงานของศิลปินต่างชาติมาให้คนท้องถิ่นได้เห็น โดยวางแนวคิด Artist in Residence ให้ศิลปินต่างถิ่นสร้างสรรค์ผลงานในมุมมองของตนเองที่มีต่อเมืองลำพูน หรือสร้างผลงานศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเมืองเล็กๆแห่งนี้
อดีตบรรณาธิการบริหาร นิตยสาร Wallpaper* และอดีตผู้อำนวยการ TCDC ยังทำงานเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทสยามพิวรรธน์ เขาต้องเดินทางเทียวไปเทียวมาระหว่างกรุงเทพฯกับลำพูน แต่เมื่ออายุมากขึ้น รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป จึงอยากมีพื้นที่ที่สามารถทำอะไรในรูปแบบของตัวเองได้เต็มที่ ร้านขายอุปกรณ์เครื่องเขียนหลังวัดพระธาตุหริภุญชัยที่ประกาศขายเมื่อไม่นานมานี้ จึงเปลี่ยนหน้าที่มาเป็น “Temple House” พื้นที่สร้างสรรค์ของนักพัฒนาเมือง
จากสถิติน่าสนใจว่าจังหวัดลำพูนมีคนฆ่าตัวตายสูง “ผมจึงเกิดคำถามว่า จะทำอะไรให้จังหวัดบ้านเกิดได้บ้าง อยากให้เมืองมีชีวิตชีวามากกว่าที่เป็นอยู่ ถ้าเราทำสำเร็จก็อาจสร้างทัศนคติให้คนในเมือง กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ๆ”
Temple House มีชื่อมาจากที่ตั้งซึ่งติดวัดหริภุญชัย ส่วนโลโก้ของร้านเลือกใช้รูปดอกไม้ 3 ดอก สื่อสารถึงชีวิตที่ดี ได้แก่ ดอกสมอ ที่นำมาจากความเป็นเมืองเก่า มีความเชื่อเรื่องพระพุทธองค์เสด็จมาฉันลูกจันสมอ ดอกพิกุล นำมาจากลายผ้าทอในราชสำนักของลำพูน ซึ่งลายผ้ายกดอกลำพูนนับเป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญของท้องถิ่น สุดท้าย คือ ดอกลำไย ตัวแทนของสังคมเกษตรกรรม และอาหารของจังหวัด
จากแนวคิดว่าร้านที่ใช้จุดขายวัฒนธรรมท้องถิ่นแบบดั้งเดิม มีคนทำไปเยอะแล้ว หากอยากทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง ก็ต้องสร้างสรรค์สิ่งที่มีความแปลกและน่าตื่นเต้นไปด้วย แล้วค่อยนำสองวัฒนธรรมระหว่างท้องถิ่นกับสากลมาผสมผสานกันให้พอดีๆ
“เมื่อคนท้องถิ่นได้เข้ามาในร้าน จะตั้งประเด็นว่า ทำไมถึงมีคนมาทำร้านแบบนี้ในลำพูน หรือใครมาเยือน จะเกิดคำถาม และ คำถามย่อมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง อาจจะมีคนทำตาม เป็นการแสดงให้เห็นศักยภาพของเมืองลำพูนว่าทำแบบนี้ได้” นอกจากความพิถีพิถันเรื่องอาหารและกาแฟเกรดพรีเมียมแล้ว ชั้นสองของ Temple House เป็นสถานที่ที่มีแรงดึงดูดไม่น้อยไปกว่ากัน ห้องโล่งๆดัดแปลงเป็น Art Gallery ที่คุณเอกตั้งใจสร้างไว้เพื่อโชว์ศักยภาพของศิลปินท้องถิ่น “คนลำพูนมีศิลปินที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศ รวมแล้วถึง 16 คนเชียวนะ ผมอยากเปิดโอกาสให้คนท้องถิ่นได้มาจัดแสดง เพื่อให้เห็นว่าสังคมเมืองเล็กๆแบบนี้ ก็สร้างสรรค์งานศิลปะได้ไม่น้อยไปกว่าเมืองใหญ่”
ในทางกลับกัน นอกจากงานแสดงของศิลปินท้องถิ่นแล้ว เขาหวังจะนำงานของศิลปินต่างชาติมาให้คนท้องถิ่นได้เห็น โดยวางแนวคิด Artist in Residence ให้ศิลปินต่างถิ่นสร้างสรรค์ผลงานในมุมมองของตนเองที่มีต่อเมืองลำพูน หรือสร้างผลงานศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเมืองเล็กๆแห่งนี้