ภายในรั้วรอบขอบชิดที่พรางสายตาจากคนภายนอกได้บางส่วน คือ เรือนไม้สักทอง 2 ชั้น ที่ตระหง่านเด่นอยู่ท่ามกลางผืนหญ้า สีไม้ทองสว่างยามแสงแดดทาบทับตัดผืนหญ้าขับเร้าให้เรือนไม้ยิ่งโดดเด่น ด้วยสถาปัตยกรรมรูปทรงปั้นหยาผสมผสานเรือนแบบขนมปังขิงเป็นความงามละเมียดจากยอดฝีมือช่างชาวเซี่ยงไฮ้ในอดีต ส่งผ่านทักษะไปตามลวดลายฉลุที่ซุ้มประตู หลังคาหน้าจั่วมุงใหม่ด้วยแป้นเกล็ดใช้กบไสเรียบดูคล้ายกระเบื้องดินเผา บานประตูออกแบบลวดลายอย่างงดงาม ด้านบนของประตูที่เรียกว่า คอสอง ประดับด้วยกระจกสี มีลวดลายตรงมุมต่างๆ ของเสาบ้านแกะลายเครือเถาอันอ่อนช้อย บ้านโบราณที่กลมกล่อมระหว่างความงามกับความเข้มขลังแห่งนี้ เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2465 ยุคปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นบ้านของคหบดี 2 ท่านซึ่งเป็นเพื่อนกัน คือ หลวงศรีนครานุกูล (จันไช่ชิง) กับ หลวงพิสิษฐ์กัยกร (ฉีถิ่งแซน) ทั้งสองเป็นเจ้าภาษีนายอากร ทำโรงสี ยาฝิ่น และโรงเหล้า บ้านในยุคแรกสร้างได้ชื่อว่า “บ้านสุทธิภักติ” อันเป็นนามสกุลของหลวงศรีนครานุกูล
คำบอกเล่าของ “คุณวุฒิกฤษฎิ์ พิสิษฐ์กุล” ผู้เป็นเจ้าของบ้านในปัจจุบัน ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 4 ของหลวงพิสิษฐ์กัยกร ค่อยๆคลายความสงสัยของประวัติบ้านเก่าสุดคลาสสิคที่ตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา บ้านหลังนี้เริ่มทวีความสำคัญในฐานะเป็นเรือนรับรองบุคคลสำคัญ เนื่องจากในสมัยก่อนพะเยาเป็นเมืองเล็กซึ่งไม่มีโรงแรม หรือที่พักรับรองเจ้านายในสมัยก่อน บ้านสุทธิภักติ จึงเป็นสถานที่ต้อนรับบุคคลสำคัญ เช่น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 , พระยาพหลพลพยุหเสนา , พ.อ.หลวงชำนาญยุทธศาสตร์ (จอมพลผิน ชุณหะวัณ) เป็นต้น
เมื่อ หลวงพิสิษฐ์กัยกร ซึ่งมีสถานะเป็นคุณทวดถึงแก่กรรม คุณวุฒิกฤษฎิ์ ทราบเพียงว่าต่อมาบ้านได้เป็นกรรมสิทธิ์ของทางฝ่ายหลวงศรีนครานุกูล จนกระทั่งประมาณปี พ.ศ. 2553 ก็ได้ทราบข่าวอีกครั้งว่า เจ้าของบ้านที่เปลี่ยนมือกันไปมาหลายทอดกำลังจะขาย โดยมีนายทุนตั้งใจจะทุบทิ้งเพื่อสร้างเป็นอาคารในเชิงพาณิชย์ ด้วยเหตุนี้คุณวุฒิกฤษฏิ์ และครอบครัวพิสิษฐ์กุล มีความตั้งใจที่จะเก็บรักษาบ้านโบราณที่เปรียบเสมือนสมบัติของคนท้องถิ่นคนพะเยาที่รักและหวงแหน จึงได้ซื้อกลับมาได้ในที่สุดเมื่อปลายปี พ.ศ.2554
“ผมมองว่าบ้านโบราณหลังนี้เป็นสมบัติที่มีคุณค่ายิ่งจากอดีตเกือบหนึ่งร้อยปีตกทอดมาถึงปัจจุบัน อีกทั้งเปรียบเสมือนการเล่าเรื่องราวในอดีตและประวัติศาสตร์ของเมืองพะเยาผ่านบ้านโบราณซึ่งในยุคของคุณทวด หลวงพิสิษฐ์กัยกร ถือเป็นปูชนียบุคคลในฐานะผู้มีส่วนสำคัญในการทำการค้าขายแลกเปลี่ยนของเมืองพะเยาในยุคนั้น จึงคิดว่าต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อเก็บรักษาสมบัติอันล้ำค่านี้ไว้ “ เหตุผลที่มีน้ำหนักนั้น เป็นที่มาของการเจรจาขอซื้อคืนจากนายทุน “ผมตั้งใจจะให้บ้านโบราณแห่งนี้เป็นสัญลักษณ์แทนความรุ่งเรืองของเมืองพะเยาในอดีต”
เมื่อเจราจาขอซื้อคืนมาได้สำเร็จ ทายาทรุ่นที่ 4 ของหนึ่งในเจ้าของเดิม วางแผนให้เป็นรูปแบบ Preservation ซึ่งเน้นรูปแบบการอนุรักษ์ ไม่ใช่การ Renovation ที่ไปปรับปรุงดัดแปลงใหม่ โดยได้ศึกษาหาข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม ควบคู่กัน เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ด้วยจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการดำรงไว้ซึ่งคุณค่าที่ไม่อาจประเมินได้ของบ้านโบราณหลังนี้ *ปัจจุบัน บ้านได้รับการบูรณะเสร็จ และดูแลเป็นอย่างดี แต่ยังชะลอแผนการต่างๆไว้ก่อน
สามารถชมได้จากภายนอก ตั้งอยู่ ถ.ชายกว๊าน (ถนนเลียบกว๊านพะเยา)
ต.เวียง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา
คำบอกเล่าของ “คุณวุฒิกฤษฎิ์ พิสิษฐ์กุล” ผู้เป็นเจ้าของบ้านในปัจจุบัน ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 4 ของหลวงพิสิษฐ์กัยกร ค่อยๆคลายความสงสัยของประวัติบ้านเก่าสุดคลาสสิคที่ตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา บ้านหลังนี้เริ่มทวีความสำคัญในฐานะเป็นเรือนรับรองบุคคลสำคัญ เนื่องจากในสมัยก่อนพะเยาเป็นเมืองเล็กซึ่งไม่มีโรงแรม หรือที่พักรับรองเจ้านายในสมัยก่อน บ้านสุทธิภักติ จึงเป็นสถานที่ต้อนรับบุคคลสำคัญ เช่น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 , พระยาพหลพลพยุหเสนา , พ.อ.หลวงชำนาญยุทธศาสตร์ (จอมพลผิน ชุณหะวัณ) เป็นต้น
เมื่อ หลวงพิสิษฐ์กัยกร ซึ่งมีสถานะเป็นคุณทวดถึงแก่กรรม คุณวุฒิกฤษฎิ์ ทราบเพียงว่าต่อมาบ้านได้เป็นกรรมสิทธิ์ของทางฝ่ายหลวงศรีนครานุกูล จนกระทั่งประมาณปี พ.ศ. 2553 ก็ได้ทราบข่าวอีกครั้งว่า เจ้าของบ้านที่เปลี่ยนมือกันไปมาหลายทอดกำลังจะขาย โดยมีนายทุนตั้งใจจะทุบทิ้งเพื่อสร้างเป็นอาคารในเชิงพาณิชย์ ด้วยเหตุนี้คุณวุฒิกฤษฏิ์ และครอบครัวพิสิษฐ์กุล มีความตั้งใจที่จะเก็บรักษาบ้านโบราณที่เปรียบเสมือนสมบัติของคนท้องถิ่นคนพะเยาที่รักและหวงแหน จึงได้ซื้อกลับมาได้ในที่สุดเมื่อปลายปี พ.ศ.2554
“ผมมองว่าบ้านโบราณหลังนี้เป็นสมบัติที่มีคุณค่ายิ่งจากอดีตเกือบหนึ่งร้อยปีตกทอดมาถึงปัจจุบัน อีกทั้งเปรียบเสมือนการเล่าเรื่องราวในอดีตและประวัติศาสตร์ของเมืองพะเยาผ่านบ้านโบราณซึ่งในยุคของคุณทวด หลวงพิสิษฐ์กัยกร ถือเป็นปูชนียบุคคลในฐานะผู้มีส่วนสำคัญในการทำการค้าขายแลกเปลี่ยนของเมืองพะเยาในยุคนั้น จึงคิดว่าต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อเก็บรักษาสมบัติอันล้ำค่านี้ไว้ “
เมื่อเจราจาขอซื้อคืนมาได้สำเร็จ ทายาทรุ่นที่ 4 ของหนึ่งในเจ้าของเดิม วางแผนให้เป็นรูปแบบ Preservation ซึ่งเน้นรูปแบบการอนุรักษ์ ไม่ใช่การ Renovation ที่ไปปรับปรุงดัดแปลงใหม่ โดยได้ศึกษาหาข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม ควบคู่กัน เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ด้วยจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการดำรงไว้ซึ่งคุณค่าที่ไม่อาจประเมินได้ของบ้านโบราณหลังนี้
“แนวคิด ในอนาคตของบ้านโบราณหลังนี้จะนำมาพัฒนาในเชิงพาณิชย์ในรูปแบบใดๆก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ คือ ความมุ่งมั่นที่จะรักษาสมบัติอันล้ำค่าของเมืองพะเยาที่อยู่คู่กับคนพะเยาก็ยังคงเป็นที่ตั้งในใจเสมอ”
กาลเวลาผ่านมาเกือบร้อยปี คนที่นี่ก็เรียกชื่อบ้านหลังนี้ติดปากสั้นๆว่า “บ้านโบราณ กว๊านพะเยา” และนั่นก็ทำให้เขาเชื่อว่า คนพะเยามีความผูกพันกับบ้านเก่าที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้คงไว้ตลอดไป
สามารถชมได้จากภายนอก ตั้งอยู่ ถ.ชายกว๊าน (ถนนเลียบกว๊านพะเยา)
ต.เวียง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา