พระอารามหลวงชั้นตรีแห่งนี้ เดิมมีชื่อว่า วัดส้มเกลี้ยง ในอดีตเคยกลายสภาพเป็นวัดร้างไร้คนเหลียวแล จนชาวบ้านละแวกนั้นนำอิฐไปใช้ก่อสร้างต่างๆ ไม่เหลือเค้าความเป็นวัดโบราณ
แต่วัดส้มเกลี้ยงที่รกร้าง เปลี่ยนเป็นชื่อวัดราชผาติการาม เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์) สร้างวัดขึ้นใหม่ และการพระราชทานนามของวัด มีความหมายว่า วัดที่พระราชาทรงผาติกรรม หรือแลกเปลี่ยนทดแทน ทำให้เจริญขึ้นหรือเพิ่มทวีขึ้น แม้ว่ารัชกาลที่ 3 เสด็จสวรรคตก่อนการสร้างวัดเสร็จสิ้น แต่ศาสนสถานแห่งนี้ ก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาตลอดรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 กลายเป็นวัดสำคัญ ที่มีความงดงามโดดเด่นอยู่เชิงสะพานกรุงธนบุรีเรื่อยมา อย่างไรก็ตาม กาลเวลาก็ทำให้วัดมีความทรุดโทรมไปตามสภาพ จนกระทั่งในโอกาสมหามงคล ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา วัดจึงมีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ โดยได้รับความสนับสนุนจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และมีการเขียนจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระมหาชนกขึ้นอย่างงดงามภายในพระอุโบสถ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ในหลวงรัชกาลที่ 10 เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปทรงสมโภชวัดราชผาติการาม เนื่องในโอกาสบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามแล้วเสร็จด้วย ข้อมูลน่ารู้
– วัดราชผาติการามแห่งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของบทพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยหลังจากที่พระองค์ได้ทรงสดับพระธรรมเทศนา เรื่องพระมหาชนกโดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ อดีตเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ. 2520 นำไปสู่แรงบันดาลพระราชหฤทัยให้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสืออันทรงคุณค่านี้ต่อมา
– ด้านหลังของพระอุโบสถ ได้การอัญเชิญพระบรมอัฐิในรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 มาบรรจุไว้อีกด้วย ที่ตั้ง
ถนนราชวิถี เขตดุสิต (เชิงสะพานกรุงธนบุรีฝั่งพระนคร)
รถไฟฟ้า MRT สถานีสิรินธร เดินไปประมาณ 1 กิโลเมตร ข้ามสะพานธนบุรี
แต่วัดส้มเกลี้ยงที่รกร้าง เปลี่ยนเป็นชื่อวัดราชผาติการาม เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์) สร้างวัดขึ้นใหม่ และการพระราชทานนามของวัด มีความหมายว่า วัดที่พระราชาทรงผาติกรรม หรือแลกเปลี่ยนทดแทน ทำให้เจริญขึ้นหรือเพิ่มทวีขึ้น
– วัดราชผาติการามแห่งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของบทพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยหลังจากที่พระองค์ได้ทรงสดับพระธรรมเทศนา เรื่องพระมหาชนกโดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ อดีตเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ. 2520 นำไปสู่แรงบันดาลพระราชหฤทัยให้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสืออันทรงคุณค่านี้ต่อมา
– ด้านหลังของพระอุโบสถ ได้การอัญเชิญพระบรมอัฐิในรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 มาบรรจุไว้อีกด้วย
ถนนราชวิถี เขตดุสิต (เชิงสะพานกรุงธนบุรีฝั่งพระนคร)
รถไฟฟ้า MRT สถานีสิรินธร เดินไปประมาณ 1 กิโลเมตร ข้ามสะพานธนบุรี