ดินแดนอันเป็นอู่อารยธรรมสำคัญของโลก ด้วยประวัติศาสตร์ยาวนานหลายพันปี มีทั้งในดินแดนตะวันออกกลาง และแอฟริกา ซึ่งมีโบราณสถานสำคัญอันเป็น “ที่สุดของโลก” อยู่หลายแห่ง ยืนตระหง่านผ่านกาลเวลาและการเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคสมัย ท้าทายให้คนแต่ละรุ่นออกเดินทางค้นหาเรื่องราวที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใต้ร่องรอยทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใด โบราณสถานเหล่านี้ยังคงเปี่ยมด้วยมนตร์ขลัง สร้างความประหลาดใจ ประทับใจ และตราตรึงใจอย่างมิรู้ลืม อียิปต์
เพียงเอ่ยคำว่า “โบราณสถานกลางทะเลทราย” เชื่อว่าประเทศอียิปต์ย่อมปรากฏขึ้นในความคิดของทุกคน “มหาพีระมิดแห่งกีซา” (The Great Pyramid of Giza) พีระมิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีอายุถึงกว่า 4,600 ปีคือหนึ่งในลิสต์สถานที่ต้องไปเยือนของเหล่านักเดินทาง พีระมิดทั้ง 3 แห่งอันประกอบด้วย พีระมิดคูฟู (Khufu) พีระมิดคาเฟร (Khafre) และพีระมิดเมนคูเร (Menkaure) ที่มีความสูงเทียบเท่าตึกหลายสิบชั้น อีกทั้งแท่งหินโครงสร้างยังหนักนับร้อยตัน ทำให้มหาพีระมิดแห่งกีซาเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ยุคโบราณที่ประวัติความเป็นมาและวิธีการก่อสร้างยังคงเป็นปริศนาจวบจนถึงปัจจุบัน นอกจากมหาพีระมิดแห่งกีซาแล้ว “มหาวิหารอาบูซิมเบล” (Abu Simbel Temples) มหาวิหารอายุกว่า 3,200 ปีที่สร้างจากการสกัดภูเขาสองลูกโดยมีรูปสลักฟาโรห์ราเมซิสที่มีความสูง 20 เมตรอยู่ด้านหน้าถึง 4 องค์ อีกทั้งรูปสลักเทพราและฟาโรห์ภายใน ตลอดจนเสาที่มีภาพเขียนบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับฟาโรห์ยังล้วนแล้วแต่น่าทึ่ง ชวนน่าพิศวงว่าคนโบราณเขาก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ยิ่งใหญ่อลังการขนาดนี้ได้อย่างไร
อียิปต์ยังมีโบราณสถานที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม โบราณคดี มานุษยวิทยา และศาสตร์ต่าง ๆ อีกมากมาย อาทิ หุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) อันเป็นหลุมฝังศพของฟาโรห์และราชวงศ์อียิปต์โบราณตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 18-20 รวมทั้งสุสานฟาโรห์ตุตันคามุน (Tutankhamun) ด้วย จอร์แดน
ท่ามกลางเส้นทางกลางทะเลทรายอันเวิ้งว้างที่มีเพียงหินและทราย ลัดเลาะไปตามโขดหินและซอกเขา เพียงอึดใจ ภาพอันน่าอัศจรรย์ก็ปรากฏแก่สายตาผู้มาเยือน “เพตรา” (Petra) ศิลานครสีกุหลาบ อดีตเมืองหลวงของชาวนาบาเทียน (Nabataean) แม้จะไม่ปรากฏชัดว่า เพตราสร้างขึ้นในปีใด แต่อาณาจักรนาบาเทียนนั้นรุ่งเรืองตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตศักราช ด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่บนเส้นทางการค้าคาบสมุทรอาระเบีย-ลุ่มน้ำไนล์และปาเลสไตน์-ลุ่มน้ำไทกริสยูเฟรติส ทำให้เพตราเป็นศูนย์กลางการค้า โดยมีสินค้าจำพวกเครื่องเทศ กำยาน และยางไม้หอมเป็นหลัก เนื่องจากเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการค้า ทำให้เพตราถูกยึดครองโดยชาวโรมันแต่ก็ยังคงความเจริญรุ่งเรืองจนกระทั่งเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในปีค.ศ.363 ประกอบกับเส้นทางการค้าที่มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้กลางศตวรรษที่ 7 เพตรากลายเป็นเมืองที่ถูกทิ้งร้าง
จวบจนในปีค.ศ.1812 โยฮันเนส เบิร์กฮาร์ท (Johannes Burckhardt) นักสำรวจชาวสวิสได้ค้นพบเพตราและกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่โลกได้ยลโฉมความสง่างามของศิลานครสีกุหลาบแห่งนี้อีกครั้ง ตุรกี
ตุรกีคือดินแดนแห่งอารยธรรมสองทวีปที่มีเสน่ห์น่าค้นหา นอกจากอิสตันบูล เมืองโบราณที่ร่องรอยประวัติศาสตร์ความเจริญตั้งแต่สมัยกรีก-โรมันยังคงเด่นชัด คือ “เอเฟซุส” (Ephesus) ศูนย์กลางทางการค้าในเอเชียที่มั่งคั่งที่สุดแห่งยุค ความยิ่งใหญ่อลังการข้ามกาลเวลายังคงอวดโฉมให้ผู้มาเยือนได้เห็นเงางามผ่านสถาปัตยกรรมศิลปะแบบเฮเลนนิสติก ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดเซลซุส (Library of Celsus) โรงละครที่จุผู้ชมได้ถึง 25,000 ที่นั่ง โรงอาบน้ำ แท่นบูชา และวิหารต่าง ๆ จากเอเฟซุส ขึ้นเหนือไปราว 6 ชั่วโมงโดยรถยนต์คือ “ทรอย” (Troy) หรือ “ชานักกาเล” (Canakkale) ที่มี “ม้าไม้โทรจัน” อันเลื่องชื่อแห่งมหากาพย์อีเลียต วรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดของยุโรป ยืนต้อนรับผู้มาเยือนอยู่หน้าปากทางเข้าโบราณสถาน ม้าไม้ตัวนี้เป็นของที่ระลึกที่ผู้สร้างภาพยนตร์เรื่อง “ทรอย” มอบไว้ให้ทางการตุรกี สำหรับการเยือนเมืองทรอย หากเดินทางไปเอเฟซุสมาก่อนอาจพบกับความผิดหวังเล็กน้อยเนื่องจากเหลือแต่ซากกำแพงและเศษหินกลางลานโล่งมากกว่า การเดินชมโบราณสถานจึงอาจต้องอาศัยการอ่านผสานกับจินตนาการมากหน่อย เอธิโอเปีย
เอธิโอเปียในภาพจำของวัยรุ่นยุค 80s-90s คือ ภาพผืนดินแห้งแล้งที่มีเด็กอดอยากถึงกับต้องกินดินเพื่อประทังชีวิต ซึ่งภาพดังกล่าวเกิดจากทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในเอธิโอเปียในช่วงปีค.ศ.1983-1985
อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นเพียงอดีตของเอธิโอเปียเพราะปัจจุบัน เอธิโอเปียเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โบราณสถานห้ามพลาดเมื่อเยือนเอธิโอเปียคือ “ลาลิเบลา” (Lalibela) เมืองที่ตั้งของกลุ่มศาสนสถานมรดกโลก อันประกอบด้วยโบสถ์หินสลักเก่าแก่สมัยศตวรรษที่ 12-13 จำนวน 11 หลัง สร้างขึ้นโดยกษัตริย์ Gebre Mesqel Lalibela แห่งราชวงศ์ Zagwe โดยหลังที่สมบูรณ์และมีชื่อเสียงที่สุดคือโบสถ์เซนต์จอร์จหรือ Bete Giorgis ซึ่งมีลักษณะเหมือนตั้งอยู่ในหลุมขนาดใหญ่ และโบสถ์ Bete Medhani Alem ซึ่งแกะสลักจากหินขนาดมหึมาก้อนเดียวขนาดใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากโบสถ์ที่ Lalibela แล้ว พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติของเอธิโอเปียยังเป็นสถานที่ที่ห้ามพลาดเด็ดขาด เพราะจัดแสดงโบราณวัตถุจำนวนมากนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้ง “โครงกระดูกลูซี่” (Lucy) ฟอสซิลโครงกระดูกต้นตระกูลมนุษย์ที่มีอายุถึง 3.2 ล้านปี!
เพียงเอ่ยคำว่า “โบราณสถานกลางทะเลทราย” เชื่อว่าประเทศอียิปต์ย่อมปรากฏขึ้นในความคิดของทุกคน “มหาพีระมิดแห่งกีซา” (The Great Pyramid of Giza) พีระมิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีอายุถึงกว่า 4,600 ปีคือหนึ่งในลิสต์สถานที่ต้องไปเยือนของเหล่านักเดินทาง พีระมิดทั้ง 3 แห่งอันประกอบด้วย พีระมิดคูฟู (Khufu) พีระมิดคาเฟร (Khafre) และพีระมิดเมนคูเร (Menkaure) ที่มีความสูงเทียบเท่าตึกหลายสิบชั้น อีกทั้งแท่งหินโครงสร้างยังหนักนับร้อยตัน ทำให้มหาพีระมิดแห่งกีซาเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ยุคโบราณที่ประวัติความเป็นมาและวิธีการก่อสร้างยังคงเป็นปริศนาจวบจนถึงปัจจุบัน
อียิปต์ยังมีโบราณสถานที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม โบราณคดี มานุษยวิทยา และศาสตร์ต่าง ๆ อีกมากมาย อาทิ หุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) อันเป็นหลุมฝังศพของฟาโรห์และราชวงศ์อียิปต์โบราณตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 18-20 รวมทั้งสุสานฟาโรห์ตุตันคามุน (Tutankhamun) ด้วย
ท่ามกลางเส้นทางกลางทะเลทรายอันเวิ้งว้างที่มีเพียงหินและทราย ลัดเลาะไปตามโขดหินและซอกเขา เพียงอึดใจ ภาพอันน่าอัศจรรย์ก็ปรากฏแก่สายตาผู้มาเยือน “เพตรา” (Petra) ศิลานครสีกุหลาบ อดีตเมืองหลวงของชาวนาบาเทียน (Nabataean)
จวบจนในปีค.ศ.1812 โยฮันเนส เบิร์กฮาร์ท (Johannes Burckhardt) นักสำรวจชาวสวิสได้ค้นพบเพตราและกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่โลกได้ยลโฉมความสง่างามของศิลานครสีกุหลาบแห่งนี้อีกครั้ง
ตุรกีคือดินแดนแห่งอารยธรรมสองทวีปที่มีเสน่ห์น่าค้นหา นอกจากอิสตันบูล เมืองโบราณที่ร่องรอยประวัติศาสตร์ความเจริญตั้งแต่สมัยกรีก-โรมันยังคงเด่นชัด คือ “เอเฟซุส” (Ephesus) ศูนย์กลางทางการค้าในเอเชียที่มั่งคั่งที่สุดแห่งยุค ความยิ่งใหญ่อลังการข้ามกาลเวลายังคงอวดโฉมให้ผู้มาเยือนได้เห็นเงางามผ่านสถาปัตยกรรมศิลปะแบบเฮเลนนิสติก ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดเซลซุส (Library of Celsus) โรงละครที่จุผู้ชมได้ถึง 25,000 ที่นั่ง โรงอาบน้ำ แท่นบูชา และวิหารต่าง ๆ
เอธิโอเปียในภาพจำของวัยรุ่นยุค 80s-90s คือ ภาพผืนดินแห้งแล้งที่มีเด็กอดอยากถึงกับต้องกินดินเพื่อประทังชีวิต ซึ่งภาพดังกล่าวเกิดจากทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในเอธิโอเปียในช่วงปีค.ศ.1983-1985
อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นเพียงอดีตของเอธิโอเปียเพราะปัจจุบัน เอธิโอเปียเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โบราณสถานห้ามพลาดเมื่อเยือนเอธิโอเปียคือ “ลาลิเบลา” (Lalibela) เมืองที่ตั้งของกลุ่มศาสนสถานมรดกโลก อันประกอบด้วยโบสถ์หินสลักเก่าแก่สมัยศตวรรษที่ 12-13 จำนวน 11 หลัง สร้างขึ้นโดยกษัตริย์ Gebre Mesqel Lalibela แห่งราชวงศ์ Zagwe โดยหลังที่สมบูรณ์และมีชื่อเสียงที่สุดคือโบสถ์เซนต์จอร์จหรือ Bete Giorgis ซึ่งมีลักษณะเหมือนตั้งอยู่ในหลุมขนาดใหญ่ และโบสถ์ Bete Medhani Alem ซึ่งแกะสลักจากหินขนาดมหึมาก้อนเดียวขนาดใหญ่ที่สุดในโลก