รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร

ควรเลือกรีไฟแนนซ์บ้านแบบไหน
รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร ควรเลือกรีไฟแนนซ์บ้านแบบไหน

จำเป็นไหมที่ผู้ซื้อต้องรีไฟแนนซ์บ้านทุก ๆ 3 ปี เพื่อลดภาระการผ่อนชำระ? การรีไฟแนนซ์บ้านต้องหาเงื่อนไขการกู้ยืมที่ดีกว่าเดิม เช่น ดอกเบี้ยที่ลดลง จำนวนเงินผ่อนต่อเดือนลดลง หรือกระทั่งระยะเวลาผ่อนนานขึ้นกว่าเดิม และรวมถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ที่กู้กับทางธนาคารต้องคำนวณความคุ้มค่าก่อนการตัดสินใจทุกครั้ง ก่อนตัดสินใจจะรีไฟแนนซ์ การเปรียบเทียบรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น

คงได้เห็นผ่านตากันบ่อย ๆ ตามเว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ กับการนำเสนอโปรโมชั่นของสินเชื่อบ้าน ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยต่ำหรืออัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วงปีแรก เพื่อจูงใจให้ผู้ซื้อกู้กับทางธนาคาร เพราะโดยทั่วไปแล้วทางธนาคารจะมีเงื่อนไขให้รีไฟแนนซ์ได้หลังจากผ่อนบ้านไปแล้ว ซึ่งจะเป็นเวลากี่ปี ก็จะมีระบุไว้ให้ในสัญญากู้ เช่น ผ่อนชำระมาแล้วอย่างน้อย 3 – 5 ปี

มารู้จักกับการรีไฟแนนซ์บ้าน
รีไฟแนนซ์บ้าน (Refinance) คือการกู้หนี้ก้อนใหม่กับธนาคารรายใหม่ มาโปะยอดสินเชื่อบ้านก้อนเดิม เพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้นหลังจากที่ผู้ยื่นกู้ผ่อนครบ 3 ปี หรือหมดจากโปรโมชั่นดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านของธนาคารเดิมนั่นเอง  จากนั้นค่อยผ่อนนี้ก้อนใหม่ในอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงกับธนาคารเจ้าใหม่ แต่ผู้ยื่นกู้จะต้องเสียค่าดำเนินการบางส่วนใหม่ และอาจยืดเวลาผ่อนเพิ่มขึ้นจากเดิม จึงควรพิจารณาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้รอบคอบ

รีไฟแนนซ์บ้านต่างกับบ้านแลกเงินอย่างไร บ้านแลกเงินคือ สัญญาเงินกู้แบบที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ออกแบบมาสำหรับเจ้าของบ้านที่ปลอดภาระและต้องการใช้เงินก้อน หรือก็คือการนำบ้านไปจำนองกับธนาคารแล้วผ่อนชำระเงินกู้ตามระยะเวลาที่ตกลงไว้  เรียกอีกอย่างคือ สินเชื่อบ้านแลกเงิน จุดเด่นของสินเชื่อบ้านแลกเงินนั้นคือ การคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) 

ส่วนการรีไฟแนนซ์บ้าน คือการย้ายธนาคารที่ผู้ยื่นกู้ขอย้ายสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านจากธนาคารเดิม ไปธนาคารใหม่เพื่อรับโปรโมชั่นดอกเบี้ยที่ถูกลงกว่าธนาคารเดิม

ใครบ้างที่ควรรีไฟแนนซ์บ้าน
กรณีที่ผู้ยื่นกู้ยังไม่แน่ใจว่า ถึงเวลายื่นขอรีไฟแนนซ์บ้านหรือรีไฟแนนซ์คอนโดแล้วหรือยัง เราขอแนะนำให้ลองสำรวจความพร้อมของตัวเองก่อน หากเข้าเงื่อนไข ต่อไปก็เตรียมเอกสารเพื่อทำการขอรีไฟแนนซ์บ้านได้เลย โดยจะมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

ผู้ยื่นกู้ที่ผ่อนบ้านมามากกว่า 3 ปี สามารถของวงเงินกู้เพิ่ม เพื่อปิดภาระหนี้ได้ ในกรณีที่ผู้ยื่นกู้มีภาระหนี้ที่ต้องการปิด เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ก็สามารถยื่นขอรีไฟแนนซ์บ้านพร้อมวงเงินสำหรับลดภาระหนี้ได้

ผู้ยื่นกู้ที่ไม่อยากจ่ายดอกเบี้ยแพง ต้องการลดดอกเบี้ยบ้าน ก็เป็นเหตุผลที่หลาย ๆ คนเลือกที่จะรีไฟแนนซ์บ้านเช่นกัน 

ผู้ยื่นกู้ที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระ อย่างเช่น การลดยอดผ่อนต่อเดือน

ผู้ยื่นกู้ที่อยากย่นระยะเวลาผ่อนบ้านให้หมดเร็วขึ้น
การลดระยะเวลาผ่อนบ้านให้หมดเร็ว ๆ ด้วยดอกเบี้ยที่ลดลง ทำให้เวลาที่ผู้ยื่นกู้ผ่อน เงินต้นจะเยอะขึ้น ช่วยให้ระยะเวลาการผ่อนบ้านของผู้ยื่นกู้ก็จะหมดเร็วขึ้นด้วย

รีไฟแนนซ์บ้าน ใช้เอกสารอะไรบ้าง หากต้องการรีไฟแนนซ์บ้าน ผู้ยื่นกู้จะต้องเตรียมเอกสารรีไฟแนนซ์บ้านอะไรบ้างเพื่อทำการรีไฟแนนซ์บ้าน

เอกสารประจำตัว

สำเนาบัตรประชาชน/รัฐวิสาหกิจ/ข้าราชการพร้อมฉบับจริง
สำเนาทะเบียนบ้าน ทุกหน้า ทุกคนพร้อมฉบับจริง
สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ใบมรณะบัตร/ใบแจ้งความแยกกันอยู่ พร้อมฉบับจริง
สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรสพร้อมฉบับจริง
สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี) พร้อมฉบับจริง

เอกสารแสดงรายได้สำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำ

ใบรับรองเงินเดือน (ฉบับจริง) หรือ หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการข้อตกลง (ฉบับจริง)
สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับรองเงินเดือนปัจจุบัน 3 เดือน ย้อนหลัง (ฉบับจริง)
สำเนาบัญชีเงินฝากแสดงรายการย้อนหลัง 6 เดือน หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่น ๆ พร้อมฉบับจริง หรือ statement พร้อมรับรอง
สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วนฯ (ภงต. 90, 91, ทวิ 50, หนังสือหักภาษี ณ ที่จ่าย) 
(กรณีประกอบธุรกิจ)

เอกสารแสดงรายได้สำหรับบุคคลที่ทำธุรกิจส่วนตัว

    1.    หลักฐานการเสียภาษีเงินได้พร้อมใบเสร็จตัวจริงจากกรมสรรพากร ย้อนหลัง 6 เดือน (กรณีประกอบธุรกิจ)

    2.    รูปถ่ายกิจการ จำนวน 3-4 รูป (กรณีประกอบธุรกิจ)

    3.    สำเนาใบประกอบวิชาชีพ, ใบอนุญาตประกอบการ (กรณีประกอบอาชีพส่วนตัว)

    4.    ใบเสร็จผ่อนชำระย้อนหลัก 24 เดือน (กรณีไถ่ถอน)

    5.    สำเนาโฉนดที่ดิน/นส.3ก/หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด/อช.2(2ชุด) พร้อมรับรองจาก สนง.ที่ดิน

รีไฟแนนซ์บ้านอย่างไรให้คุ้ม หากอยากรีไฟแนนซ์บ้านให้คุ้ม ควรเปรียบเทียบเงื่อนไขของธนาคารต่าง ๆ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสินเชื่อที่จะรีไฟแนนซ์ โดยเงื่อนไขคืออัตราดอกเบี้ยใหม่จะต้องต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ใช้อยู่ปัจจุบัน จำนวนเงินผ่อนต่องวดที่ควรลดลง และมีระยะการผ่อนที่นานขึ้น 

สำรวจค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้น ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ การจดจำนองหลักประกัน 1% ของวงเงินกู้ การประเมินมูลค่าหลักประกัน การทำประกันอัคคีภัย ธนาคารมักจะยื่นข้อเสนอประเภทฟรีค่าธรรมเนียม ซึ่งผู้ยื่นกู้สามารถเช็กโปรโมชั่นสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารต่าง ๆ ได้

หรือจะเช็กผ่านทางบริษัทที่ช่วยให้การรีไฟแนนซ์บ้านเป็นเรื่องง่ายขึ้น อย่าง Refinn เป็นต้น ซึ่งบริการของเขานั้นจะมีระบบตรวจสอบเปรียบเทียบดอกเบี้ยของธนาคารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ธอส, กรุงไทย, ออมสิน, กรุงศรี, กสิกร ซึ่งถือว่าน่าสนใจเพราะหลาย ๆ ท่านมักไม่แน่ใจว่าควรรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารไหนดี

หลังจากได้ข้อมูลแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดแล้ว และผ่อนบ้านครบกำหนดเวลาขั้นต่ำตามสัญญาเงินกู้เรียบร้อย ผู้ยื่นกู้ก็จะมีโอกาสและสิทธิในการตัดสินใจเรื่องการรีไฟแนนซ์ โดยนำค่าใช้จ่ายทั้งหมดมาเปรียบเทียบกับจำนวนดอกเบี้ยทั้งหมดที่ผู้ยื่นกู้จะประหยัดได้ 

เมื่อดูแล้วว่าคุ้มค่าต่อการรีไฟแนนซ์ ก็ติดต่อธนาคารและดำเนินการตามขั้นตอนได้เลย หากต้องการวงเงินสินเชื่อที่สูงกว่ายอดสินเชื่อคงเหลือเดิม ก็ให้ยื่นเอกสารกับธนาคารเป้าหมายอย่างน้อง 3 แห่งขึ้นไป 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับรีไฟแนนซ์บ้าน

ข้อดีของรีไฟแนนซ์บ้าน คือ
การรีไฟแนนซ์บ้านต้องพิจารณาถึงความจำเป็นและต้องให้เกิดประโยชน์ คุ้มค่ามากที่สุด คือต้องให้หนี้ลดลงจริง ๆ ถึงจะถือคุ้มค่าที่สุด โดยข้อดีของการรีไฟแนนซ์บ้าน คือ

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารใหม่ถูกกว่าธนาคารเดิม ทำให้ดอกเบี้ยถูกลงกว่าเดิม
บางกรณีอาจได้วงเงินกู้มากขึ้น กว่ายอดคงค้างเดิม
ลดภาระหนี้ เพิ่มสภาพคล่องให้กับเงินในกระเป๋ามากขึ้น โดยเฉพาะจำนวนเงินที่ต้องผ่อนต่อเดือนลดลง
ได้เงินส่วนต่างจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ทำให้มีเงินเหลือใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ที่จำเป็น สามารถนำเงินที่ได้ไปหมุนใช้กับรายจ่ายที่จำเป็นได้ด้วย

รีไฟแนนซ์บ้านได้ทุกกี่ปี
โดยทั่วไปธนาคารจะมีเงื่อนไขให้รีไฟแนนซ์บ้านได้หลังจากผ่อนบ้านไปแล้วเป็นระยะเวลา x ปี ซึ่งจะระบุไว้ให้ในสัญญากู้ตั้งแต่แรก ส่วนใหญ่ผู้ที่จะสามารถรีไฟแนนซ์บ้านได้ คือผู้ที่หมดโปรโมชั่นดอกเบี้ยใน 3 ปีแรกกับธนาคารที่บุคคลนั้นยื่นกู้เป็นครั้งแรก

เงื่อนไขและระยะเวลาส่วนมากมักขึ้นอยู่กับสัญญาเงินกู้แต่ละฉบับ หากรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนด ก็จะเสียค่าปรับ 2-3% ของยอดหนี้คงเหลือ จึงควรตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อนยื่นรีไฟแนนซ์บ้าน

สรุปเรื่องรีไฟแนนซ์บ้าน การพิจารณาว่าการรีไฟแนนซ์บ้านแต่ละครั้งจะคุ้มค่าหรือไม่ ให้ดูส่วนต่างที่ประหยัดได้จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์ จุดคุ้มทุนของการรีไฟแนนซ์บ้านคือเมื่อพิจารณาถึงข้อดี-ข้อเสียได้แล้วมีข้อดีมากกว่า คุ้มค่ากว่า ก็สามารถเตรียมความพร้อม แล้วยื่นกู้กับธนาคารใหม่ได้เลย 

แม้ว่าการรีไฟแนนซ์บ้านจะไม่ใช่ทางการแก้หนี้ที่ดีที่สุด แต่ก็เป็นอีกหนทางที่สามารถบรรเทาภาระของผู้ยื่นกู้ได้ช่วงหนึ่ง สิ่งสำคัญที่สุดคือการแก้หนี้คือจะต้องปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายให้มีวินัยมากขึ้น เพื่อให้

You May Also Like