ตลอดการครองราชย์ 70 ปีของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือ ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงมีโครงการในพระราชดำริจำนวนมากมายที่สร้างประโยชน์ให้กับพสกนิกรชาวไทย ตลอดจนมีสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระองค์หลายแห่งที่ทำให้เราได้รำลึกถึง
แม้ว่าเวลาล่วงเลยผ่าน สถานที่ต่างๆเหล่านั้น ก็ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อการศึกษาเรียนรู้ ต้นแบบการอนุรักษ์ และการพักผ่อนหย่อนใจ ทำให้ผู้มาเยือนรำลึกถึงพระองค์เสมอ
The Passport รวบรวม 9 จุดหมายปลายทางที่เต็มไปด้วยความหมาย ที่จะทำให้คุณรำลึกถึงกษัตริย์ในดวงใจ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่
ในหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จมาเยือนดอยห่างไกล ในอำเภอฝาง ทรงทราบสภาพความเป็นอยู่อันแร้นแค้นของชาวไทยภูเขา และทราบว่าชาวบ้านปลูกท้อพื้นเมืองอยู่แล้ว จึงน่าจะหาพันธุ์ที่ดีจากต่างประเทศมาปลูกแทน พร้อมทั้งสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซื้อที่ดินเพื่อทดลองการปลูกไม้ผลเมืองหนาวทดแทนฝิ่น เช่น พีช พลับ พลัม สาลี่ เป็นต้น แล้วจุดเริ่มของงานวิจัยโครงการหลวงก็ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2512
หนึ่งในแนวคิดที่กลายเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน ด้วยวลีว่า “ขาดทุน คือ กำไร” ซึ่งมาจากการดำเนินงานช่วงแรกนั้น ต้องลงทุนทั้งด้านวิจัย ส่งเสริมการเกษตร และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขา ซึ่งขาดทุนในแง่ของมูลค่าตัวเงิน แต่ทว่ากำไรของโครงการหลวง คือ การได้ปลูกรากความมั่นคงให้หยั่งลึก และแตกแขนงจากจุดเริ่มต้นที่ดอยอ่างขาง ไปสู่โครงการหลวงแห่งอื่นๆ กระทั่งกลายเป็นความสำเร็จที่ยั่งยืนจวบจนถึงปัจจุบัน
อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก
เขื่อนแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวลำดับต้นๆของจังหวัดตาก แต่ในด้านประโยชน์ก็มีมากมาย เขื่อนกักเก็บน้ำได้ถึง 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร ให้ประโยชน์แก่พื้นที่ประมาณ 10 ล้านไร่ ครอบคลุม 22 จังหวัด ไปจนถึง กทม. เพราะน้ำไหลไปสมทบกับลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งเกิดจากแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 เรื่องการบริหารจัดการน้ำ ในยุคจอมพล ป. รัฐบาลต้องการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เนื่องจากหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดการขาดแคลนไฟฟ้า เพราะยุคนั้นยังใช้ไฟไม่มากเท่าปัจจุบัน การสร้างเขื่อนในพื้นที่จังหวัดตาก จึงสามารถส่งไฟฟ้าไป กทม.ได้อีกด้วย
ก่อนมีเขื่อน มักเกิดปัญหาทั้งน้ำท่วม และภัยแล้ง สลับกันไป แต่ภายหลังการสร้างเขื่อน เกษตรกรสามารถทำนาปรังได้ และลดปัญหาความสูญเสียจากภัยธรรมชาติที่เคยมี ซึ่งเป็นไปตามที่พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสไว้ว่า การสร้างเขื่อน เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาเศรษฐกิจ ปัจจุบันน้ำเป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงชีวิต และน้ำกับไฟฟ้าส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของชีวิต เมื่อพลเมืองเพิ่มมากและเร็ว ก็ต้องเพิ่มน้ำและไฟฟ้าให้ทันความต้องการของพลเมือง
อ.สามเงา จ.ตาก คุ้งกระเบน จ.จันทบุรี
ธรรมชาติริมชายฝั่งทะเลอ่าวคุ้งกระเบน เสื่อมโทรมลงด้วยการทำประมงที่ผิดวิธี มีการรุกล้ำพื้นที่ชายฝั่งและป่าไม้ แต่ด้วยพระราชดำริจัดตั้งศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาฯ อ่าวคุ้งกระเบน ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งอ่าวคุ้งกระเบนเริ่มฟื้นตัว อีกทั้งแผนการพัฒนาอย่างรอบด้าน ที่มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน เสริมสร้างรายได้โดยการเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวและได้ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนไปพร้อม ๆ กันตามแนวป่าชายเลนไปบนสะพานไม้ และชมวิวพื้นที่สีเขียวของป่าโกงกางและผืนน้ำกว้างสุดสายตา
อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จ.สกลนคร
ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อดำรงชีพ ส่งผลให้ไม่มีน้ำใช้ในหน้าแล้ง และเกิดปัญหาดินเค็มตามมา จึงเกิดเป็นโครงการพระราชดำริ ศูนย์การศึกษาพัฒนาภูพานขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ใน จ.สกลนคร และให้ความรู้กับคนในชุมชนได้มีความรู้ในการพัฒนาอาชีพ เพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้จากการทำเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน แทนการบุกรุกป่า และร่วมด้วยช่วยกันดูแลและฟื้นฟูป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์
อ.เมือง จ.สกลนคร เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก
หนึ่งเขื่อนจากแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในหน้าแล้งและปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ราบลุ่มบริเวณภาคกลางของประเทศไทย
ความสำคัญเป็นเขื่อนคอนกรีดบดอัดที่มีความยาวมากที่สุดในโลก ยาวถึง 2,593 เมตร อยู่ในพื้นที่ของ จ.นครนายก รับและกักเก็บน้ำจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เขื่อนแห่งนี้ยังเป็นเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่มีจุดชมวิวทิวทัศน์ของผืนน้ำ ป่าไม้ และภูเขาเหนือสันเขื่อน รวมไปถึงน้ำตกที่อยู่ลึกด้านในซึ่งน่าสนใจไม่แพ้กัน
อ.เมือง จ.นครนายก โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ จ.เพชรบุรี
โครงการชื่อสะดุดหูนี้ มาจากหัวมันเทศที่ถูกวางทิ้งไว้บนตาชั่ง แต่ยังสามารถเจริญงอกงามได้ เกิดเป็นแหล่งรวบรวมพืชพันธุ์ดี พืชเศรษฐกิจ ฟาร์มโคนม และกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า ไว้บนเนื้อที่ทั้งหมด 250 ไร่ ที่เคยแห้งแล้ง พระองค์ทรงริเริ่มโครงการชั่งหัวมันขึ้นมาเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรดินและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนในพื้นที่ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี โดยขอความร่วมมือจาคภาครัฐและกลุ่มเกษตรกรมาร่วมแรงร่วมใจกัน สร้างผืนดินตรงนี้ให้กลับมาเขียวขจีดังเดิมอีกครั้ง
อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี วัดบวรนิเวศวิหาร และวัดราชบพิธฯ กรุงเทพฯ
วัดบวรนิเวศวิหาร หนึ่งในพระอารามหลวงชั้นเอก เป็นที่รู้จักในหลากหลายบริบท พระอารามหลวงแห่งนี้ พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ในพระบรมราชวงศ์จักรี ประทับจำพรรษาเมื่อครั้งทรงผนวช รวมถึงในหลวง รัชกาลที่ 9
ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระสุวรรณเขต และพระพุทธชินสีห์ ประดิษฐานเป็นพระประธานคู่กัน และภายใต้บัลลังก์พระพุทธชินสีห์ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9 ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดเพียงแห่งเดียวในยุครัตนโกสินทร์ที่มีสถานะเป็นวัดประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ ในพระบรมราชวงศ์จักรีสองพระองค์ (รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 7) พร้อมทั้งเป็นพระอารามหลวงแห่งสุดท้ายในประเทศไทย ที่สร้างตามโบราณราชประเพณีของการสร้างวัดประจำรัชกาล
พระบรมราชสรีรางคารของของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9 ) ก็ บรรจุไว้ใต้ฐานพุทธบัลลังก์หินอ่อนของพระพุทธอังคีรส พระประธานในพระอุโบสถ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามแห่งนี้เช่นกัน ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
ในยุคหนึ่งบริเวณลุ่มแม่น้ำปากพนังนี้เคยมีความอุดมสมบูรณ์ แต่กลับเสื่อมโทรมลงด้วยปัญหาน้ำเค็มรุก ส่งผลปริมาณน้ำจืดลดลง บวกกับปัญหาน้ำเน่าเสียจากนากุ้ง ป่าไม้จึงเริ่มเสื่อมโทรมจนเกิดปัญหาดินเปรี้ยวตามมา จึงเกิดเป็นแนวพระราชดำริในการก่อสร้างประตูระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำเค็มรุกล้ำและกักเก็บน้ำจืดเพื่อการทำเกษตรกรรม ซึ่งในปัจจุบัน นอกจากเป็นพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาเรื่องทรัพยากรธรรมชาติแล้วยังกลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชนอีกด้วย
อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า จ.ปทุมธานี
พิพิธภัณฑ์น้องใหม่ในเครือองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ที่เพิ่งเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปลายปี 2562 นับเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่ดีที่สุดของไทย จุดเริ่มต้นจากปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เพื่อแสดงให้เห็นหลักการคิด วิธีการทรงงานและกระบวนการค้นหาคำตอบ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ทรงนำไปแก้ปัญหาหรือพระราชทานแก่พสกนิกรในพื้นที่ต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร
ภายในพิพิธภัณฑ์มีความทันสมัย ให้ความรู้พร้อมทั้งความเพลิดเพลิน แบ่งออกเป็น 6 ส่วนได้แก่ โลกและการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต, ระบบนิเวศและความหลากหลาย, การจัดการทรัพยากรน้ำ, การจัดการทรัพยากรดิน, หอเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และการจัดการทรัพยากรน้ำในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก
ข้อมูลเพิ่มเติม facebook.com/Rama9MuseumThailand
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
แม้ว่าเวลาล่วงเลยผ่าน สถานที่ต่างๆเหล่านั้น ก็ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อการศึกษาเรียนรู้ ต้นแบบการอนุรักษ์ และการพักผ่อนหย่อนใจ ทำให้ผู้มาเยือนรำลึกถึงพระองค์เสมอ
The Passport รวบรวม 9 จุดหมายปลายทางที่เต็มไปด้วยความหมาย ที่จะทำให้คุณรำลึกถึงกษัตริย์ในดวงใจ
ในหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จมาเยือนดอยห่างไกล ในอำเภอฝาง ทรงทราบสภาพความเป็นอยู่อันแร้นแค้นของชาวไทยภูเขา และทราบว่าชาวบ้านปลูกท้อพื้นเมืองอยู่แล้ว จึงน่าจะหาพันธุ์ที่ดีจากต่างประเทศมาปลูกแทน พร้อมทั้งสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซื้อที่ดินเพื่อทดลองการปลูกไม้ผลเมืองหนาวทดแทนฝิ่น เช่น พีช พลับ พลัม สาลี่ เป็นต้น แล้วจุดเริ่มของงานวิจัยโครงการหลวงก็ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2512
หนึ่งในแนวคิดที่กลายเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน ด้วยวลีว่า “ขาดทุน คือ กำไร” ซึ่งมาจากการดำเนินงานช่วงแรกนั้น ต้องลงทุนทั้งด้านวิจัย ส่งเสริมการเกษตร และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขา ซึ่งขาดทุนในแง่ของมูลค่าตัวเงิน แต่ทว่ากำไรของโครงการหลวง คือ การได้ปลูกรากความมั่นคงให้หยั่งลึก และแตกแขนงจากจุดเริ่มต้นที่ดอยอ่างขาง ไปสู่โครงการหลวงแห่งอื่นๆ กระทั่งกลายเป็นความสำเร็จที่ยั่งยืนจวบจนถึงปัจจุบัน
อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
เขื่อนแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวลำดับต้นๆของจังหวัดตาก แต่ในด้านประโยชน์ก็มีมากมาย เขื่อนกักเก็บน้ำได้ถึง 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร ให้ประโยชน์แก่พื้นที่ประมาณ 10 ล้านไร่ ครอบคลุม 22 จังหวัด ไปจนถึง กทม. เพราะน้ำไหลไปสมทบกับลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งเกิดจากแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 เรื่องการบริหารจัดการน้ำ ในยุคจอมพล ป. รัฐบาลต้องการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เนื่องจากหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดการขาดแคลนไฟฟ้า เพราะยุคนั้นยังใช้ไฟไม่มากเท่าปัจจุบัน การสร้างเขื่อนในพื้นที่จังหวัดตาก จึงสามารถส่งไฟฟ้าไป กทม.ได้อีกด้วย
ก่อนมีเขื่อน มักเกิดปัญหาทั้งน้ำท่วม และภัยแล้ง สลับกันไป แต่ภายหลังการสร้างเขื่อน เกษตรกรสามารถทำนาปรังได้ และลดปัญหาความสูญเสียจากภัยธรรมชาติที่เคยมี ซึ่งเป็นไปตามที่พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสไว้ว่า การสร้างเขื่อน เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาเศรษฐกิจ ปัจจุบันน้ำเป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงชีวิต และน้ำกับไฟฟ้าส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของชีวิต เมื่อพลเมืองเพิ่มมากและเร็ว ก็ต้องเพิ่มน้ำและไฟฟ้าให้ทันความต้องการของพลเมือง
อ.สามเงา จ.ตาก
ธรรมชาติริมชายฝั่งทะเลอ่าวคุ้งกระเบน เสื่อมโทรมลงด้วยการทำประมงที่ผิดวิธี มีการรุกล้ำพื้นที่ชายฝั่งและป่าไม้ แต่ด้วยพระราชดำริจัดตั้งศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาฯ อ่าวคุ้งกระเบน ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งอ่าวคุ้งกระเบนเริ่มฟื้นตัว อีกทั้งแผนการพัฒนาอย่างรอบด้าน ที่มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน เสริมสร้างรายได้โดยการเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวและได้ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนไปพร้อม ๆ กันตามแนวป่าชายเลนไปบนสะพานไม้ และชมวิวพื้นที่สีเขียวของป่าโกงกางและผืนน้ำกว้างสุดสายตา
อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อดำรงชีพ ส่งผลให้ไม่มีน้ำใช้ในหน้าแล้ง และเกิดปัญหาดินเค็มตามมา จึงเกิดเป็นโครงการพระราชดำริ ศูนย์การศึกษาพัฒนาภูพานขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ใน จ.สกลนคร และให้ความรู้กับคนในชุมชนได้มีความรู้ในการพัฒนาอาชีพ เพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้จากการทำเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน แทนการบุกรุกป่า และร่วมด้วยช่วยกันดูแลและฟื้นฟูป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์
อ.เมือง จ.สกลนคร
หนึ่งเขื่อนจากแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในหน้าแล้งและปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ราบลุ่มบริเวณภาคกลางของประเทศไทย
ความสำคัญเป็นเขื่อนคอนกรีดบดอัดที่มีความยาวมากที่สุดในโลก ยาวถึง 2,593 เมตร อยู่ในพื้นที่ของ จ.นครนายก รับและกักเก็บน้ำจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เขื่อนแห่งนี้ยังเป็นเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่มีจุดชมวิวทิวทัศน์ของผืนน้ำ ป่าไม้ และภูเขาเหนือสันเขื่อน รวมไปถึงน้ำตกที่อยู่ลึกด้านในซึ่งน่าสนใจไม่แพ้กัน
อ.เมือง จ.นครนายก
โครงการชื่อสะดุดหูนี้ มาจากหัวมันเทศที่ถูกวางทิ้งไว้บนตาชั่ง แต่ยังสามารถเจริญงอกงามได้ เกิดเป็นแหล่งรวบรวมพืชพันธุ์ดี พืชเศรษฐกิจ ฟาร์มโคนม และกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า ไว้บนเนื้อที่ทั้งหมด 250 ไร่ ที่เคยแห้งแล้ง พระองค์ทรงริเริ่มโครงการชั่งหัวมันขึ้นมาเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรดินและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนในพื้นที่ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี โดยขอความร่วมมือจาคภาครัฐและกลุ่มเกษตรกรมาร่วมแรงร่วมใจกัน สร้างผืนดินตรงนี้ให้กลับมาเขียวขจีดังเดิมอีกครั้ง
อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
วัดบวรนิเวศวิหาร หนึ่งในพระอารามหลวงชั้นเอก เป็นที่รู้จักในหลากหลายบริบท พระอารามหลวงแห่งนี้ พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ในพระบรมราชวงศ์จักรี ประทับจำพรรษาเมื่อครั้งทรงผนวช รวมถึงในหลวง รัชกาลที่ 9
ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระสุวรรณเขต และพระพุทธชินสีห์ ประดิษฐานเป็นพระประธานคู่กัน และภายใต้บัลลังก์พระพุทธชินสีห์ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9 )
พระบรมราชสรีรางคารของของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9 ) ก็ บรรจุไว้ใต้ฐานพุทธบัลลังก์หินอ่อนของพระพุทธอังคีรส พระประธานในพระอุโบสถ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามแห่งนี้เช่นกัน
ในยุคหนึ่งบริเวณลุ่มแม่น้ำปากพนังนี้เคยมีความอุดมสมบูรณ์ แต่กลับเสื่อมโทรมลงด้วยปัญหาน้ำเค็มรุก ส่งผลปริมาณน้ำจืดลดลง บวกกับปัญหาน้ำเน่าเสียจากนากุ้ง ป่าไม้จึงเริ่มเสื่อมโทรมจนเกิดปัญหาดินเปรี้ยวตามมา จึงเกิดเป็นแนวพระราชดำริในการก่อสร้างประตูระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำเค็มรุกล้ำและกักเก็บน้ำจืดเพื่อการทำเกษตรกรรม ซึ่งในปัจจุบัน นอกจากเป็นพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาเรื่องทรัพยากรธรรมชาติแล้วยังกลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชนอีกด้วย
อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
พิพิธภัณฑ์น้องใหม่ในเครือองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ที่เพิ่งเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปลายปี 2562 นับเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่ดีที่สุดของไทย จุดเริ่มต้นจากปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เพื่อแสดงให้เห็นหลักการคิด วิธีการทรงงานและกระบวนการค้นหาคำตอบ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ทรงนำไปแก้ปัญหาหรือพระราชทานแก่พสกนิกรในพื้นที่ต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร
ภายในพิพิธภัณฑ์มีความทันสมัย ให้ความรู้พร้อมทั้งความเพลิดเพลิน แบ่งออกเป็น 6 ส่วนได้แก่ โลกและการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต, ระบบนิเวศและความหลากหลาย, การจัดการทรัพยากรน้ำ, การจัดการทรัพยากรดิน, หอเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และการจัดการทรัพยากรน้ำในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก
ข้อมูลเพิ่มเติม facebook.com/Rama9MuseumThailand
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี