เมื่อพูดถึง “เมืองเก่า” ไม่จำเป็นต้องหมายถึงโบราณสถานหรือซากปรักหักพังแห่งอารยธรรมโบราณเสมอไป เพราะยังรวมถึงย่านเก่าแก่ของเมืองมีชีวิตที่ยังเคลื่อนไหวอย่างมีสีสันผสมไปกับวิถีร่วมสมัยในปัจจุบันผสมกลมกล่อมเข้ากันได้ดี
The Passport รวบรวม 20 ย่านเก่าน่าเที่ยวของไทยที่เหมาะแก่การตามรอยไปสัมผัสบรรยากาศในอดีต
เมืองเก่า จ.ภูเก็ต
ย่านเก่าตึกสไตล์ชิโน-โปรตุกีส น่าจะทำให้ใครๆนึกถึง ภูเก็ต เป็นที่แรกๆ เพราะเมืองไข่มุกแห่งอันดามันเป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญมาตั้งแต่ศตวรรษก่อน เป็นดินแดนเกาะกลางทะเลที่นักเดินเรือชาวตะวันตกมาพบกับพ่อค้าชาวตะวันออก และทิ้งมรดกด้านสถาปัตยกรรมล้ำค่าเอาไว้ แล้วลูกหลานชาวภูเก็ตรุ่นปัจจุบันก็จับมาแต่งองค์ทรงเครื่องเสียใหม่ให้เป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยวได้อย่างน่าชื่นชม ชุมชนต้าตง อ.บ้านตาก จ.ตาก
“ชุมชนต้าตง” ในช่วงกลางวัน ถนนสายเล็กๆเลียบแม่น้ำที่ปลูกเรือนไม้เรียงรายสองฟาก เป็นย่านชุมชนเก่าที่เปล่งเสน่ห์ย้อนยุคและเงียบสงบแบบอำเภอเล็กๆตามต่างจังหวัด ในช่วงวันเสาร์อาทิตย์แรกของเดือน ถนนย่านชุมชนต้าตง ที่ดูอ้อยอิ่งในช่วงกลางวัน จะเปลี่ยนบุคลิกเป็นถนนคนเดินที่ละลานตาไปด้วยความสดใส ไม่ต่างจากงานเทศกาลประจำหมู่บ้าน ที่ชาวบ้านรู้จักกันในดีในนาม“กาดต้าตง”อีกด้วย ย่านเก่าริมแม่น้ำโขง จ.นครพนม
อาจไม่ค่อยมีใครคิดถึงนครพนมในแง่ความเป็นเมืองเก่า แต่สมัยที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จมาภาคอีสาน ทรงจัดยุทธศาสตร์ใหม่สร้างสถานที่ราชการ และถนนหนทางให้สวยงามเหมือนกับประเทศตะวันตกเพื่อให้เป็นที่เกรงขามแก่ฝรั่งเศสที่กำลังเข้ามารุกราน เมื่อผ่านมาถึงยุคนี้ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเมืองนครพนมกว่าศตวรรษก่อน จึงเป็นความคลาสสิคเหนือกาลเวลา ในตัวเมืองเลาะเลียบริมแม่น้ำโขงไปตามถนนสุนทรวิจิตร จึงมีอาคารสถาปัตยกรรมสวยๆให้ชมมากมาย ชุมชนริมน้ำจันทบูร จ.จันทบุรี
ถนนสายเล็กๆที่จะนำย้อนอดีตไปสู่ศูนย์กลางเศรษฐกิจสำคัญของเมืองจันทบุรีเมื่อกว่าศตวรรษก่อนที่ย่านท่าหลวง หรือ ย่านเมืองเก่าจันทรบูร แหล่งค้าขายชุมชนริมน้ำซึ่งทิ้งร่องรอยความคลาสสิคไว้ตามอาคารร้านค้า ตึกแถวเก่าสองข้างทางบนถนนสุขาภิบาล เรียงรายด้วยห้องแถวที่มีสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส บ้านไม้ทรงปั้นหยา เรือนขนมปังขิง และตึกฝรั่งกลิ่นอายแบบปีนัง มีทั้งร้านค้าเจ้าเก่าที่สืบทอดกิจการมาจากบรรพบุรุษ หรือบ้านเก่าที่ใช้เป็นศูนย์เรียนรู้ ตัวเมืองระนอง จ.ระนอง
ระนองเป็นเมืองเงียบๆ แต่มีเสน่ห์ย้อนยุคไปน้อยกว่าที่ใด ร้านค้า อาคารเก่า มีริ้วรอยแห่งกาลเวลา แต่ทว่ายังคงโดดเด่นน่าเดินชม และด้วยความผสมผสานวัฒนธรรมชาวจีน ชาวท้องถิ่น รวมถึงชาวเมียนมาที่เข้ามาทำงาน ตัวเมืองมีทั้งย่านศูนย์กลางราชการบริเวณเนินประวัติศาสตร์เขตนิเวศน์ พระราชวังรัตนรังสรรค์ ศาลหลักเมือง ศาลเจ้า กลุ่มอาคารย่านการค้าเก่าแก่ ทำให้ย่านเก่าในตัวเมือง ได้ความรู้สึกว่าเข็มนาฬิกาเดินย้อนกลับไปอีกหลายปี เมืองเก่า จ.แม่ฮ่องสอน
ตัวเมืองสามหมอกมีความเงียบสงบเป็นทุนเดิม เมื่อผนวกเข้ากับวัดวาอารามต่างๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้านอย่างเด่นชัดก็ยิ่งทำให้มีบรรยากาศแบบเมืองที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยมากนัก ไม่ว่าจะเป็นพระธาตุดอยกองมู ศาสนสถานคู่บ้านคู่เมืองที่มีกลิ่นอายของสถาปัตยกรรมแบบไทใหญ่-เมียนมา สะท้อนความวิจิตรอยู่บนภูเขากลางเมือง และยังเป็นแหล่งชมทะเลหมอกที่ดีที่สุดในตัวเมือง วัดจองคำและวัดจองกลาง สองวัดสวยใจกลางเมืองฝีมือช่างสกุลเมียนมา ที่ใช้เป็นสถานที่จัดงานประเพณีสำคัญบ่อยครั้ง ซึ่งหากใครมาเยือนแม่ฮ่องสอนครั้งแรก เมื่อได้ชมความงามของวัดผ่านสวนสาธารณะหนองจองคำไปแล้ว แทบไม่คิดว่าสถาปัตยกรรมตรงหน้านั้นคือเมืองไทย เมืองเก่า จ.เพชรบุรี
จุดหมายภาคบังคับของนักท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ต้องไปเยือนเมืองเพชรบุรี ดินแดนโบราณที่พบหลักฐานชุมชนอาศัยมานับพันปี จนกระทั่งกาลเวลาผ่านมาถึงยุคปัจจุบัน มรดกวัฒนธรรมทั้งหมดที่สั่งสมมาของเมืองเพชร จึงปรากฏกระจัดกระจายไปทั่ว ทั้งงานสถาปัตยกรรม อาหาร งานช่าง งานศิลปะพื้นบ้าน ฯลฯ กลายเป็นเมืองร่ำรวยประวัติศาสตร์ที่ยังมีลมหายใจและสีสันของวิถีชีวิตคนยุคปัจจุบันที่ยังช่วยกันขับเคลื่อนไปในชุมชนเก่า แนะนำเดินเที่ยวชุมชนเก่าเมืองเพชร ได้แก่ ชุมชนถนนคลองกระแชง ชุมชนตลาดริมน้ำ และชุมชนวัดเกาะ ย่านเก่าวังกรด จ.พิจิตร
ที่นี่มีตั้งแต่สถานีรถไฟเล็ก ๆ สไตล์ย้อนยุค ร้านขายของ และอาคารห้องแถวไม้เก่า ๆ ที่มีมาตั้งแต่ยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เหมาะสำหรับถ่ายรูปที่สุด โดยเฉพาะบริเวณวงเวียนหอนาฬิกา ที่ประดับตกแต่งด้วยธงหลากสี ยืนมองชาวบ้านปั่นจักรยานหรือขับมอเตอร์ไซต์ผ่านไปมา แค่นี้ก็ได้บรรยากาศย้อนวันวานตามแบบฉบับของย่านการค้าในอดีต และเดินเท้าจากตลาดไปไม่ไกลนัก ทางทิศใต้ของย่านเก่านี้จะเป็นบ้านหลวงประเทืองคดี นายกเทศมนตรีเมืองพิจิตรคนแรก ที่ปัจจุบันทายาทเปิดบ้านให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ เชียงคาน จ.เลย
แม้ว่าเชียงคานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก แต่เสน่ห์ของย่านบ้านไม้ริมแม่น้ำโขง ที่ดัดแปลง ปรับปรุงเข้าไปกับกระแสการท่องเที่ยวยุคใหม่ ก็เริ่มเข้าที่เข้าทางมาหลายปี จนกลายเป็นย่านท่องเที่ยวยลเสน่ห์แบบเมืองเก่าริมแม่น้ำ ที่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวได้หลากหลาย ย่านเมืองเก่า จ.สงขลา
ถ้าย้อนไปราวสิบปีที่แล้ว ย่านเมืองเก่าจังหวัดสงขลาก็เก่าสมชื่อ แต่หนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ทุกอย่างพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด ถนนสามสายย่านเมืองเก่าสงขลา ได้แก่ ถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงาม เปลี่ยนแปลงไปแทบจำไม่ได้ ทั้งการรีโนเวทอาคารให้สวยงาม เปลี่ยนมาใช้ประโยชน์ด้านการค้า โดยอยู่ภายใต้เป้าหมายยกสถานะให้สงขลาเป็นเมืองมรดกโลก และถนนย่านเมืองเก่าจะถูกจัดให้เป็น buffer zone
ถนนทั้ง 3 สาย มีอาคารเก่าที่มีสถาปัตยกรรมผสมผสานกันอย่างน่าสนใจ ตั้งแต่อาคารรูปแบบจีน อาคารชิโน-โปรตุกีส อาคารกลิ่นอายอาร์ตเดโค ฯลฯ โดยความเก่าแก่ทั้งหมดถูกปัดฝุ่นปรับปรุงใหม่ กลายเป็นร้านค้า ร้านอาหาร ที่พักร่วมสมัย บ้างปรับเปลี่ยนเป็นอาร์ตสเปซ อยู่ร่วมกับร้านอาหารเจ้าเก่า ที่เป็นแหล่งของกินขึ้นชื่อประจำเมือง เมืองเก่าตะกั่วป่า จ.พังงา
ถ้าย่านเมืองเก่าภูเก็ตเป็นตัวแทนของอาคารชิโนโปรตุกีส-โคโลเนียลแบบร่วมสมัย เขตเมืองเก่าตะกั่วป่า พังงา ก็อาจเป็นตัวแทนความเก่าแก่ที่กาลเวลาหยุดนิ่ง ราวกับยุคที่อุตสาหกรรมเหมืองแร่ดีบุกยังรุ่งเรือง ถนนศรีตะกั่วป่าที่ตัดผ่านกลางย่านเมืองเก่านั้น สองฟากเรียงรายไปด้วยอาคารสีซีดจาง ไร้การปรุงแต่งจากเมื่อแรกสร้าง ออกแบบด้านหน้ามีที่ว่างเรียงติดกันเป็นซุ้มโค้งทางเดิน ตามที่ชาวจีนฮกเกี้ยนเรียกว่า หงอคาขี่ ช่วยเพิ่มพื้นที่สำหรับย่างก้าวสำรวจความเป็นไปของเมือง โดยมีสตรีตอาร์ตมาแต้มเติมให้พอเป็นสีสัน
ทุกวันนี้ย่านเก่าตะกั่วป่า มีความงามแห่งอดีต แทบไม่เปลี่ยนแปลงไปจากวันวาน ร้านค้าเก่าๆอย่างร้านซ่อมนาฬิกา ร้านตัดผมแบบสมัยก่อน พิพิธภัณฑ์ชุมชน ยังคงมีชีวิตเดินไปดังมรดกที่เหลือรอดจากกาลเวลา ถนนยมจินดา จ.ระยอง
แม่น้ำระยองไหลผ่านกลางเมือง นำความเจริญมาสู่เมืองตะวันออกจากการค้าขาย การคมนาคมทางเรือ โดยมีศูนย์กลางธุรกิจอันคึกคักเติบโตขึ้นบนถนนสายแรกของจังหวัดนามว่า “ถนนยมจินดา” จนกระทั่งเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน ความคึกคักของถนนสายเก่าจึงร่วงโรยไปตามกาลเวลา แต่ทว่าเมื่อคนในชุมชน นำโดยชมรมอนุรักษ์ฟื้นฟูเมืองเก่า จังหวัดระยอง ร่วมกันทำให้ถนนสายสำคัญในอดีตกลับมามีลมหายใจในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ถนนยมจินดาในวันนี้จึงเป็นสถานที่ไม่ควรพลาด และโดดเด่นในสายตานักท่องเที่ยวอีกครั้ง ให้ผู้มาเยือนย่างย่ำสำรวจความงามของอดีตที่ยังเข้มขลังกลมกลืนไปกับยุคปัจจุบัน ตลาดเก่านครชุม จ.กำแพงเพชร
เรือนไม้เก่าอายุนับร้อยปีที่ปลูกเรียงรายเสริมบรรยากาศให้ “ตลาดย้อนยุค นครชุม” ในจังหวัดกำแพงเพชร เก่าแก่สมจริงแบบไม่ต้องแต่งเติมให้เกินพอดี เมื่อได้ความร่วมมือร่วมใจ จากชาวท้องถิ่นที่ช่วยกันสร้างสรรค์ให้ตลาดเต็มไปด้วยกลิ่นอายวัฒนธรรมย้อนยุค เช่น การแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบยุคโบราณ การนำอาหารเก่าแก่หากินได้ยากมาวางขาย ก็ทำให้ตลาดย้อนยุคแห่งนี้ เสมือนเป็นต้นแบบการอนุรักษ์ชุมชนเก่าที่ควรค่าแก่การมาเยือน จุดเริ่มต้นจากความตั้งใจของเทศบาลนครชุม ที่ต้องการฟื้นฟูอาหารประจำถิ่น ที่มีความหลากหลาย จากกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งพื้นฐานของเมืองนครชุมเป็นย่านเมืองเก่าแก่ ที่มีประวัติศาสตร์น่าสนใจ การพลิกฟื้นตลาดในสมัยเก่าก่อนจึงประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะการร่วมบริหารจัดการกันเองโดยคนในชุมชน มีเฉพาะวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์แรกของทุกเดือน กาดกองต้า จ.ลำปาง
ในภาษาถิ่นทางเหนือ กาดกองต้า แปลว่า ตลาดถนนท่าน้ำ ซึ่งหมายถึงตลาดริมแม่น้ำวังที่มีอายุอานามกว่าร้อยปี และเป็นศูนย์กลางการค้าในภาคเหนือที่ชนชาติต่างๆมาพบปะกันในยุคที่ธุรกิจการค้าไม้รุ่งเรืองสุดขีด การเป็นแหล่งค้าขายนานาชาติในอดีตนี่เอง ทำให้ที่นี่ยังหลงเหลืออาคารสุดคลาสสิคของช่างในอดีตที่มาจากหลากหลายสัญชาติ ทั้งช่างไทย จีน เมียนมา และช่างชาวตะวันตก กาดกองต้าจึงเป็นทั้งตลาดวัฒนธรรม และเมืองเก่าที่มีชีวิต บ้านสิงห์ท่า จ.ยโสธร
ชุมชนบนถนนสายอดีตแห่งเมืองยโสธร วิถีชีวิตของย่านบ้านสิงห์ท่ายังคงความเรียบง่ายตามครรลองของเมืองเก่า สืบเนื่องความสำคัญมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2315 เมื่อพระเจ้าวงศาเสนาบดีแห่งเมืองเวียงจันทน์ อพยพมาสร้างชุมชนท่าสิงห์เป็นเมืองแห่งใหม่ ริมแม่น้ำชี และด้วยความเป็นศูนย์กลางความเจริญในอดีต จึงเป็นศูนย์กลางการค้าที่รับอิทธิพลวัฒนธรรมฝรั่งเศส ผ่านฝีมือช่างชาวเวียดนาม ตลอดจนชาวจีน เข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นถิ่นได้อย่างกลมกลืน ย่านเมืองเก่าปัตตานี จ.ปัตตานี
ถนนปัตตานีภิรมย์ ถนนอาเนาะรู เส้นทางเลียบแม่น้ำปัตตานี ไปบรรจบบริเวณศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ในอำเภอเมืองปัตตานี เป็นระยะทางกำลังดีสำหรัับเดินเล่นสัมผัสเรื่องราวของเมืองปัตตานีในอดีต ที่เป็นย่านการค้าของชาวจีนอพยพ ผสมผสานกับวิถีชีวิตชาวมุสลิม และร้านรวงร่วมสมัยที่เข้ามาเติมสีสันในอาคารเก่า ซึ่งย่านนี้จะทำให้คุณรู้จักปัตตานีในฐานะเมืองพหุวัฒนธรรมที่มีเสน่ห์น่าหลงใหลเป็นที่สุด ตรอกโรงยา จ.อุทัยธานี
อยากทำความรู้จักเมืองนอกกระแสอย่างอุทัยธานีให้สนิทสนมมากกว่าเดิม ไม่ต้องยุ่งยาก แค่เดินสำรวจไปตามตัวเมืองเขตเทศบาล ตามตลาดสด ก็จะเจอทั้งอาคารพาณิชย์เก่า ร้านยาแผนโบราณ โรงเจเก่าแก่ บรรยากาศย้อนยุคของบ้านไม้ห้องแถว หรือเดินไปที่ชุมชนตรอกโรงยา (ชื่อมาจากสมัยก่อนเป็นโรงฝิ่น) ย่านเก่าที่เสน่ห์วันวานสะท้อนออกมาจากอาคารไม้ผสมปูนสองชั้นเรียงรายสองฟากถนน มีร้านสะสมของเก่าที่เสมือนพิพิธภัณฑ์ชุมชน และร้านอาหารเจ้าเก่า โดยในเย็นวันเสาร์จะมีถนนคนเดิน เพิ่มความคึกคักและสีสันให้ย่านเก่ามีชีวิตชีวา ย่านเก่าโพธาราม จ.ราชบุรี
เสน่ห์ของชุมชนน่ารักๆที่มีกลิ่นอายแบบอดีต อย่างอำเภอโพธาราม อำเภอที่คนเก่าแก่เล่าว่า สมัยก่อนมีหมู่ต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ที่บ้านนายดำ คนจึงเรียกกันว่าโพธิ์ตาดำ จนกระทั่งราชบุรีมีฐานะเป็นมณฑล ทางการเห็นว่ามีต้นโพธิ์ และวัดวาอารามเป็นจำนวนมาก จึงตั้งชื่อมา โพธาราม
ลองเดินเล่นลัดเลาะไปตามถนนสายเก่า ที่เรียกว่า ย่านตลาดบน ซึ่งเรียงรายไปด้วยห้องแถวไม้แบบโบราณ ร้านรวงที่อบอวลเสน่ห์ย้อนยุค จนเป็นโลเคชั่นถ่ายทำละคร-ภาพยนตร์บ่อยครั้ง หรือถ้าอยากได้บรรยากาศแบบต่างจังหวัดเพิ่มอีกนิด เดินทางไปที่ตำบลเจ็ดเสมียน เยือนตลาดเก่ากว่าร้อยปีริมน้ำแม่กลอง ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
ระยะทางจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชไปราว 36 กิโลเมตร “อำเภอปากพนัง” เสมือนเป็นชุมชนที่เวลาหยุดเดินไว้เมื่อหลายปีก่อน ด้วยบรรยากาศแบบเมืองต่างจังหวัดที่ปราศจากตึกรามบ้านเรือนใหญ่โต แต่ทว่าสะดุดเด่นสายตาด้วยอาคารเก่าที่มีริ้วรอยของกาลเวลาอันมีเสน่ห์ บ้างเป็นอาคารพาณิชย์ที่ยังมีลมหายใจ บ้างดัดแปลงเป็นบ้านนกนางแอ่นสำหรับธุรกิจรังนก ให้ผู้มาเยือนย่างย่ำสำรวจด้วยสองเท้า เพลินไปกับวิถีชีวิตของตลาดร้อยปีอันเก่าแก่ริมน้ำอันคลาคล่ำไปด้วยการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เป็นจังหวะขับเคลื่อนที่เติมสีสันอยู่ทุกวัน ย่านเมืองเก่าในกรุงเทพฯ
เมืองหลวงของไทย ก็มีประวัติศาสตร์อันรุ่งเรืองมานานกว่าสองร้อยปี จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยว่าพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ครอบคลุมถึงฝั่งธนบุรี และถนนเจริญกรุง จะเต็มไปด้วยบรรยากาศงดงามแบบอดีตที่หากจับมาแต่งองค์ทรงเครื่องอีกนิด ก็ใช้เป็นฉากถ่ายทำหนังย้อนยุคได้สบายๆ
พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เช่น ย่านสามแพร่ง ย่านท่าเตียน ท่าช้าง เสาชิงช้า ถนนพระอาทิตย์ นางเลิ้ง ฯลฯ เรียงรายไปด้วยอาคารสวยๆกับร้านรวงเจ้าเก่าบ้าง ร้านร่วมสมัยบ้างที่มีเสน่ห์เข้ากันระหว่างสองยุค ส่วนด้านถนนเจริญกรุง ไม่ว่าจะเป็นย่านตลาดน้อย เยาวราช บางรัก ก็ล้วนมีบรรยากาศย่านการค้าเก่าที่คึกคักเสมอมา รวมทั้งข้ามฟากไปฝั่งธนบุรี ที่มีย่านเก่าน่าเที่ยวจำนวนมาก อาทิ คลองบางหลวง ชุมชนกุฎีจีน เป็นต้น
The Passport รวบรวม 20 ย่านเก่าน่าเที่ยวของไทยที่เหมาะแก่การตามรอยไปสัมผัสบรรยากาศในอดีต
เมืองเก่า จ.ภูเก็ต
ย่านเก่าตึกสไตล์ชิโน-โปรตุกีส น่าจะทำให้ใครๆนึกถึง ภูเก็ต เป็นที่แรกๆ เพราะเมืองไข่มุกแห่งอันดามันเป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญมาตั้งแต่ศตวรรษก่อน เป็นดินแดนเกาะกลางทะเลที่นักเดินเรือชาวตะวันตกมาพบกับพ่อค้าชาวตะวันออก และทิ้งมรดกด้านสถาปัตยกรรมล้ำค่าเอาไว้ แล้วลูกหลานชาวภูเก็ตรุ่นปัจจุบันก็จับมาแต่งองค์ทรงเครื่องเสียใหม่ให้เป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยวได้อย่างน่าชื่นชม
“ชุมชนต้าตง” ในช่วงกลางวัน ถนนสายเล็กๆเลียบแม่น้ำที่ปลูกเรือนไม้เรียงรายสองฟาก เป็นย่านชุมชนเก่าที่เปล่งเสน่ห์ย้อนยุคและเงียบสงบแบบอำเภอเล็กๆตามต่างจังหวัด ในช่วงวันเสาร์อาทิตย์แรกของเดือน ถนนย่านชุมชนต้าตง ที่ดูอ้อยอิ่งในช่วงกลางวัน จะเปลี่ยนบุคลิกเป็นถนนคนเดินที่ละลานตาไปด้วยความสดใส ไม่ต่างจากงานเทศกาลประจำหมู่บ้าน ที่ชาวบ้านรู้จักกันในดีในนาม“กาดต้าตง”อีกด้วย
อาจไม่ค่อยมีใครคิดถึงนครพนมในแง่ความเป็นเมืองเก่า แต่สมัยที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จมาภาคอีสาน ทรงจัดยุทธศาสตร์ใหม่สร้างสถานที่ราชการ และถนนหนทางให้สวยงามเหมือนกับประเทศตะวันตกเพื่อให้เป็นที่เกรงขามแก่ฝรั่งเศสที่กำลังเข้ามารุกราน เมื่อผ่านมาถึงยุคนี้ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเมืองนครพนมกว่าศตวรรษก่อน จึงเป็นความคลาสสิคเหนือกาลเวลา ในตัวเมืองเลาะเลียบริมแม่น้ำโขงไปตามถนนสุนทรวิจิตร จึงมีอาคารสถาปัตยกรรมสวยๆให้ชมมากมาย
ถนนสายเล็กๆที่จะนำย้อนอดีตไปสู่ศูนย์กลางเศรษฐกิจสำคัญของเมืองจันทบุรีเมื่อกว่าศตวรรษก่อนที่ย่านท่าหลวง หรือ ย่านเมืองเก่าจันทรบูร แหล่งค้าขายชุมชนริมน้ำซึ่งทิ้งร่องรอยความคลาสสิคไว้ตามอาคารร้านค้า ตึกแถวเก่าสองข้างทางบนถนนสุขาภิบาล เรียงรายด้วยห้องแถวที่มีสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส บ้านไม้ทรงปั้นหยา เรือนขนมปังขิง และตึกฝรั่งกลิ่นอายแบบปีนัง มีทั้งร้านค้าเจ้าเก่าที่สืบทอดกิจการมาจากบรรพบุรุษ หรือบ้านเก่าที่ใช้เป็นศูนย์เรียนรู้
ระนองเป็นเมืองเงียบๆ แต่มีเสน่ห์ย้อนยุคไปน้อยกว่าที่ใด ร้านค้า อาคารเก่า มีริ้วรอยแห่งกาลเวลา แต่ทว่ายังคงโดดเด่นน่าเดินชม และด้วยความผสมผสานวัฒนธรรมชาวจีน ชาวท้องถิ่น รวมถึงชาวเมียนมาที่เข้ามาทำงาน ตัวเมืองมีทั้งย่านศูนย์กลางราชการบริเวณเนินประวัติศาสตร์เขตนิเวศน์ พระราชวังรัตนรังสรรค์ ศาลหลักเมือง ศาลเจ้า กลุ่มอาคารย่านการค้าเก่าแก่ ทำให้ย่านเก่าในตัวเมือง ได้ความรู้สึกว่าเข็มนาฬิกาเดินย้อนกลับไปอีกหลายปี
ตัวเมืองสามหมอกมีความเงียบสงบเป็นทุนเดิม เมื่อผนวกเข้ากับวัดวาอารามต่างๆ ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้านอย่างเด่นชัดก็ยิ่งทำให้มีบรรยากาศแบบเมืองที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยมากนัก ไม่ว่าจะเป็นพระธาตุดอยกองมู ศาสนสถานคู่บ้านคู่เมืองที่มีกลิ่นอายของสถาปัตยกรรมแบบไทใหญ่-เมียนมา สะท้อนความวิจิตรอยู่บนภูเขากลางเมือง และยังเป็นแหล่งชมทะเลหมอกที่ดีที่สุดในตัวเมือง วัดจองคำและวัดจองกลาง สองวัดสวยใจกลางเมืองฝีมือช่างสกุลเมียนมา ที่ใช้เป็นสถานที่จัดงานประเพณีสำคัญบ่อยครั้ง ซึ่งหากใครมาเยือนแม่ฮ่องสอนครั้งแรก เมื่อได้ชมความงามของวัดผ่านสวนสาธารณะหนองจองคำไปแล้ว แทบไม่คิดว่าสถาปัตยกรรมตรงหน้านั้นคือเมืองไทย
จุดหมายภาคบังคับของนักท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ต้องไปเยือนเมืองเพชรบุรี ดินแดนโบราณที่พบหลักฐานชุมชนอาศัยมานับพันปี จนกระทั่งกาลเวลาผ่านมาถึงยุคปัจจุบัน มรดกวัฒนธรรมทั้งหมดที่สั่งสมมาของเมืองเพชร จึงปรากฏกระจัดกระจายไปทั่ว ทั้งงานสถาปัตยกรรม อาหาร งานช่าง งานศิลปะพื้นบ้าน ฯลฯ กลายเป็นเมืองร่ำรวยประวัติศาสตร์ที่ยังมีลมหายใจและสีสันของวิถีชีวิตคนยุคปัจจุบันที่ยังช่วยกันขับเคลื่อนไปในชุมชนเก่า แนะนำเดินเที่ยวชุมชนเก่าเมืองเพชร ได้แก่ ชุมชนถนนคลองกระแชง ชุมชนตลาดริมน้ำ และชุมชนวัดเกาะ
ที่นี่มีตั้งแต่สถานีรถไฟเล็ก ๆ สไตล์ย้อนยุค ร้านขายของ และอาคารห้องแถวไม้เก่า ๆ ที่มีมาตั้งแต่ยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เหมาะสำหรับถ่ายรูปที่สุด โดยเฉพาะบริเวณวงเวียนหอนาฬิกา ที่ประดับตกแต่งด้วยธงหลากสี ยืนมองชาวบ้านปั่นจักรยานหรือขับมอเตอร์ไซต์ผ่านไปมา แค่นี้ก็ได้บรรยากาศย้อนวันวานตามแบบฉบับของย่านการค้าในอดีต และเดินเท้าจากตลาดไปไม่ไกลนัก ทางทิศใต้ของย่านเก่านี้จะเป็นบ้านหลวงประเทืองคดี นายกเทศมนตรีเมืองพิจิตรคนแรก ที่ปัจจุบันทายาทเปิดบ้านให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์
แม้ว่าเชียงคานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก แต่เสน่ห์ของย่านบ้านไม้ริมแม่น้ำโขง ที่ดัดแปลง ปรับปรุงเข้าไปกับกระแสการท่องเที่ยวยุคใหม่ ก็เริ่มเข้าที่เข้าทางมาหลายปี จนกลายเป็นย่านท่องเที่ยวยลเสน่ห์แบบเมืองเก่าริมแม่น้ำ ที่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวได้หลากหลาย
ถ้าย้อนไปราวสิบปีที่แล้ว ย่านเมืองเก่าจังหวัดสงขลาก็เก่าสมชื่อ แต่หนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ทุกอย่างพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด ถนนสามสายย่านเมืองเก่าสงขลา ได้แก่ ถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงาม เปลี่ยนแปลงไปแทบจำไม่ได้ ทั้งการรีโนเวทอาคารให้สวยงาม เปลี่ยนมาใช้ประโยชน์ด้านการค้า โดยอยู่ภายใต้เป้าหมายยกสถานะให้สงขลาเป็นเมืองมรดกโลก และถนนย่านเมืองเก่าจะถูกจัดให้เป็น buffer zone
ถนนทั้ง 3 สาย มีอาคารเก่าที่มีสถาปัตยกรรมผสมผสานกันอย่างน่าสนใจ ตั้งแต่อาคารรูปแบบจีน อาคารชิโน-โปรตุกีส อาคารกลิ่นอายอาร์ตเดโค ฯลฯ โดยความเก่าแก่ทั้งหมดถูกปัดฝุ่นปรับปรุงใหม่ กลายเป็นร้านค้า ร้านอาหาร ที่พักร่วมสมัย บ้างปรับเปลี่ยนเป็นอาร์ตสเปซ อยู่ร่วมกับร้านอาหารเจ้าเก่า ที่เป็นแหล่งของกินขึ้นชื่อประจำเมือง
ถ้าย่านเมืองเก่าภูเก็ตเป็นตัวแทนของอาคารชิโนโปรตุกีส-โคโลเนียลแบบร่วมสมัย เขตเมืองเก่าตะกั่วป่า พังงา ก็อาจเป็นตัวแทนความเก่าแก่ที่กาลเวลาหยุดนิ่ง ราวกับยุคที่อุตสาหกรรมเหมืองแร่ดีบุกยังรุ่งเรือง ถนนศรีตะกั่วป่าที่ตัดผ่านกลางย่านเมืองเก่านั้น สองฟากเรียงรายไปด้วยอาคารสีซีดจาง ไร้การปรุงแต่งจากเมื่อแรกสร้าง ออกแบบด้านหน้ามีที่ว่างเรียงติดกันเป็นซุ้มโค้งทางเดิน ตามที่ชาวจีนฮกเกี้ยนเรียกว่า หงอคาขี่ ช่วยเพิ่มพื้นที่สำหรับย่างก้าวสำรวจความเป็นไปของเมือง โดยมีสตรีตอาร์ตมาแต้มเติมให้พอเป็นสีสัน
ทุกวันนี้ย่านเก่าตะกั่วป่า มีความงามแห่งอดีต แทบไม่เปลี่ยนแปลงไปจากวันวาน ร้านค้าเก่าๆอย่างร้านซ่อมนาฬิกา ร้านตัดผมแบบสมัยก่อน พิพิธภัณฑ์ชุมชน ยังคงมีชีวิตเดินไปดังมรดกที่เหลือรอดจากกาลเวลา
แม่น้ำระยองไหลผ่านกลางเมือง นำความเจริญมาสู่เมืองตะวันออกจากการค้าขาย การคมนาคมทางเรือ โดยมีศูนย์กลางธุรกิจอันคึกคักเติบโตขึ้นบนถนนสายแรกของจังหวัดนามว่า “ถนนยมจินดา” จนกระทั่งเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน ความคึกคักของถนนสายเก่าจึงร่วงโรยไปตามกาลเวลา แต่ทว่าเมื่อคนในชุมชน นำโดยชมรมอนุรักษ์ฟื้นฟูเมืองเก่า จังหวัดระยอง ร่วมกันทำให้ถนนสายสำคัญในอดีตกลับมามีลมหายใจในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ถนนยมจินดาในวันนี้จึงเป็นสถานที่ไม่ควรพลาด และโดดเด่นในสายตานักท่องเที่ยวอีกครั้ง ให้ผู้มาเยือนย่างย่ำสำรวจความงามของอดีตที่ยังเข้มขลังกลมกลืนไปกับยุคปัจจุบัน
เรือนไม้เก่าอายุนับร้อยปีที่ปลูกเรียงรายเสริมบรรยากาศให้ “ตลาดย้อนยุค นครชุม” ในจังหวัดกำแพงเพชร เก่าแก่สมจริงแบบไม่ต้องแต่งเติมให้เกินพอดี เมื่อได้ความร่วมมือร่วมใจ จากชาวท้องถิ่นที่ช่วยกันสร้างสรรค์ให้ตลาดเต็มไปด้วยกลิ่นอายวัฒนธรรมย้อนยุค เช่น การแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบยุคโบราณ การนำอาหารเก่าแก่หากินได้ยากมาวางขาย ก็ทำให้ตลาดย้อนยุคแห่งนี้ เสมือนเป็นต้นแบบการอนุรักษ์ชุมชนเก่าที่ควรค่าแก่การมาเยือน จุดเริ่มต้นจากความตั้งใจของเทศบาลนครชุม ที่ต้องการฟื้นฟูอาหารประจำถิ่น ที่มีความหลากหลาย จากกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งพื้นฐานของเมืองนครชุมเป็นย่านเมืองเก่าแก่ ที่มีประวัติศาสตร์น่าสนใจ การพลิกฟื้นตลาดในสมัยเก่าก่อนจึงประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะการร่วมบริหารจัดการกันเองโดยคนในชุมชน มีเฉพาะวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์แรกของทุกเดือน
ในภาษาถิ่นทางเหนือ กาดกองต้า แปลว่า ตลาดถนนท่าน้ำ ซึ่งหมายถึงตลาดริมแม่น้ำวังที่มีอายุอานามกว่าร้อยปี และเป็นศูนย์กลางการค้าในภาคเหนือที่ชนชาติต่างๆมาพบปะกันในยุคที่ธุรกิจการค้าไม้รุ่งเรืองสุดขีด การเป็นแหล่งค้าขายนานาชาติในอดีตนี่เอง ทำให้ที่นี่ยังหลงเหลืออาคารสุดคลาสสิคของช่างในอดีตที่มาจากหลากหลายสัญชาติ ทั้งช่างไทย จีน เมียนมา และช่างชาวตะวันตก กาดกองต้าจึงเป็นทั้งตลาดวัฒนธรรม และเมืองเก่าที่มีชีวิต
ชุมชนบนถนนสายอดีตแห่งเมืองยโสธร วิถีชีวิตของย่านบ้านสิงห์ท่ายังคงความเรียบง่ายตามครรลองของเมืองเก่า สืบเนื่องความสำคัญมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2315 เมื่อพระเจ้าวงศาเสนาบดีแห่งเมืองเวียงจันทน์ อพยพมาสร้างชุมชนท่าสิงห์เป็นเมืองแห่งใหม่ ริมแม่น้ำชี และด้วยความเป็นศูนย์กลางความเจริญในอดีต จึงเป็นศูนย์กลางการค้าที่รับอิทธิพลวัฒนธรรมฝรั่งเศส ผ่านฝีมือช่างชาวเวียดนาม ตลอดจนชาวจีน เข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นถิ่นได้อย่างกลมกลืน
ถนนปัตตานีภิรมย์ ถนนอาเนาะรู เส้นทางเลียบแม่น้ำปัตตานี ไปบรรจบบริเวณศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ในอำเภอเมืองปัตตานี เป็นระยะทางกำลังดีสำหรัับเดินเล่นสัมผัสเรื่องราวของเมืองปัตตานีในอดีต ที่เป็นย่านการค้าของชาวจีนอพยพ ผสมผสานกับวิถีชีวิตชาวมุสลิม และร้านรวงร่วมสมัยที่เข้ามาเติมสีสันในอาคารเก่า ซึ่งย่านนี้จะทำให้คุณรู้จักปัตตานีในฐานะเมืองพหุวัฒนธรรมที่มีเสน่ห์น่าหลงใหลเป็นที่สุด
อยากทำความรู้จักเมืองนอกกระแสอย่างอุทัยธานีให้สนิทสนมมากกว่าเดิม ไม่ต้องยุ่งยาก แค่เดินสำรวจไปตามตัวเมืองเขตเทศบาล ตามตลาดสด ก็จะเจอทั้งอาคารพาณิชย์เก่า ร้านยาแผนโบราณ โรงเจเก่าแก่ บรรยากาศย้อนยุคของบ้านไม้ห้องแถว หรือเดินไปที่ชุมชนตรอกโรงยา (ชื่อมาจากสมัยก่อนเป็นโรงฝิ่น) ย่านเก่าที่เสน่ห์วันวานสะท้อนออกมาจากอาคารไม้ผสมปูนสองชั้นเรียงรายสองฟากถนน มีร้านสะสมของเก่าที่เสมือนพิพิธภัณฑ์ชุมชน และร้านอาหารเจ้าเก่า โดยในเย็นวันเสาร์จะมีถนนคนเดิน เพิ่มความคึกคักและสีสันให้ย่านเก่ามีชีวิตชีวา
เสน่ห์ของชุมชนน่ารักๆที่มีกลิ่นอายแบบอดีต อย่างอำเภอโพธาราม อำเภอที่คนเก่าแก่เล่าว่า สมัยก่อนมีหมู่ต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ที่บ้านนายดำ คนจึงเรียกกันว่าโพธิ์ตาดำ จนกระทั่งราชบุรีมีฐานะเป็นมณฑล ทางการเห็นว่ามีต้นโพธิ์ และวัดวาอารามเป็นจำนวนมาก จึงตั้งชื่อมา โพธาราม
ลองเดินเล่นลัดเลาะไปตามถนนสายเก่า ที่เรียกว่า ย่านตลาดบน ซึ่งเรียงรายไปด้วยห้องแถวไม้แบบโบราณ ร้านรวงที่อบอวลเสน่ห์ย้อนยุค จนเป็นโลเคชั่นถ่ายทำละคร-ภาพยนตร์บ่อยครั้ง หรือถ้าอยากได้บรรยากาศแบบต่างจังหวัดเพิ่มอีกนิด เดินทางไปที่ตำบลเจ็ดเสมียน เยือนตลาดเก่ากว่าร้อยปีริมน้ำแม่กลอง
ระยะทางจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชไปราว 36 กิโลเมตร “อำเภอปากพนัง” เสมือนเป็นชุมชนที่เวลาหยุดเดินไว้เมื่อหลายปีก่อน ด้วยบรรยากาศแบบเมืองต่างจังหวัดที่ปราศจากตึกรามบ้านเรือนใหญ่โต แต่ทว่าสะดุดเด่นสายตาด้วยอาคารเก่าที่มีริ้วรอยของกาลเวลาอันมีเสน่ห์ บ้างเป็นอาคารพาณิชย์ที่ยังมีลมหายใจ บ้างดัดแปลงเป็นบ้านนกนางแอ่นสำหรับธุรกิจรังนก ให้ผู้มาเยือนย่างย่ำสำรวจด้วยสองเท้า เพลินไปกับวิถีชีวิตของตลาดร้อยปีอันเก่าแก่ริมน้ำอันคลาคล่ำไปด้วยการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เป็นจังหวะขับเคลื่อนที่เติมสีสันอยู่ทุกวัน
เมืองหลวงของไทย ก็มีประวัติศาสตร์อันรุ่งเรืองมานานกว่าสองร้อยปี จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยว่าพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ครอบคลุมถึงฝั่งธนบุรี และถนนเจริญกรุง จะเต็มไปด้วยบรรยากาศงดงามแบบอดีตที่หากจับมาแต่งองค์ทรงเครื่องอีกนิด ก็ใช้เป็นฉากถ่ายทำหนังย้อนยุคได้สบายๆ
พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เช่น ย่านสามแพร่ง ย่านท่าเตียน ท่าช้าง เสาชิงช้า ถนนพระอาทิตย์ นางเลิ้ง ฯลฯ เรียงรายไปด้วยอาคารสวยๆกับร้านรวงเจ้าเก่าบ้าง ร้านร่วมสมัยบ้างที่มีเสน่ห์เข้ากันระหว่างสองยุค ส่วนด้านถนนเจริญกรุง ไม่ว่าจะเป็นย่านตลาดน้อย เยาวราช บางรัก ก็ล้วนมีบรรยากาศย่านการค้าเก่าที่คึกคักเสมอมา รวมทั้งข้ามฟากไปฝั่งธนบุรี ที่มีย่านเก่าน่าเที่ยวจำนวนมาก อาทิ คลองบางหลวง ชุมชนกุฎีจีน เป็นต้น