ในประวัติศาสตร์โลกผ่านมา มีชื่อของสตรีปรากฏอยู่มากมายนับไม่ถ้วน และชื่อที่ถูกลบทิ้งไปก็มีจำนวนไม่น้อยเช่นกัน และนี่คือ 7 เมืองทั่วโลกซึ่งครั้งหนึ่งสตรีผู้ยิ่งใหญ่เคยอาศัยอยู่และยังทิ้งร่องรอยให้คนรุ่นหลังได้ชมจนถึงทุกวันนี้ มีตั้งแต่เมืองอียิปต์โบราณมาจนถึงเมืองในฝรั่งเศสช่วงศตวรรษที่ 20
ฟาโรห์แฮตเชปซุต
ลุกซอร์ ประเทศอียิปต์
แฮตเชปซุต เป็นฟาโรห์หญิงที่ขึ้นสู่อำนาจราว ๆ 1508–1458 ก่อนคริสตกาล นับเป็นเวลานานกว่าศตวรรษก่อนยุคสมัยของคลีโอพัตรา เธอได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเมื่อสามีโมโมสที่สองของเธอเสียชีวิต แฮตเชปซุตจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับอำนาจเต็มของฟาโรห์ ตลอดรัชสมัย 20 ปี เธอได้สร้างอนุสาวรีย์ที่ยิ่งใหญ่และบันทึกเรื่องราวของตนลงในประวัติศาสตร์ของอียิปต์ซึ่งบางส่วนยังคงอยู่ในปัจจุบัน
การตามรอยเริ่มต้นที่วิหารลุกซอร์ ซึ่งมีเสาและสฟิงซ์สูงตระหง่าน จากนั้นมุ่งหน้าไปทางตะวันตกเฉียงเหนือบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ เพื่อไปเยี่ยมชมวัดอนุสรณ์แฮตเชปซุต วิหารหลายชั้นที่แกะสลักในหน้าผาสูง 300 เมตร ภายในมีศาลบูชาเทพ Anubis และ Hathor เทพีแห่งความรัก ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นที่ตั้งของหุบเขาสุสานกษัตริย์ โดยสุสานของแฮตเชปซุตนั้นอยู่ที่เดียวกับบิดาของเธอ ซึ่งอยู่ลึกเกือบ 100 เมตร
ไม่นานหลังแฮตเชปซุตจากไป มีความพยายามของกลุ่มคนที่จะลบชื่อของเธอออกจากประวัติศาสตร์และพยายามเอามรดกทุกอย่างที่เคยเป็นของเธอมาสร้างความชอบธรรมขึ้นใหม่เป็นของพวกตน แม้จะมีความพยายามที่จะลบลืมราชินีฟาโรห์ให้กลายเป็นฝุ่น แต่อนุสาวรีย์มหึมาของแฮตเชปซุตก็ทนอยู่ได้หลายศตวรรษและชื่อของเธอก็ยังคงเป็นที่จดจำไปทั่วโลก แคทเธอรีนมหาราชินี
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย
แม้ว่าเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กจะมีชื่อตามพระนามของพระมหากษัตริย์รัสเซียที่ยิ่งใหญ่อีกคน แต่เมืองอันเก่าแก่ก็เป็นที่ตั้งของพระราชวังที่เชื่อมโยงกับชีวิตของแคทเธอรีนที่สอง จักรพรรดินีแห่งรัสเซีย รัชสมัยของแคทเธอรีนถือได้ว่าเป็นยุคทอง เธอใช้อุดมการณ์อันก้าวไกลผลักดันการปฏิรูปสังคมและจักรวรรดิรัสเซียให้เติบโตทั้งอำนาจและขนาดของประเทศ จากการประมาณการ เธอขยายขอบเขตประเทศไปมากกว่า 500,000 ตารางกิโลเมตร
คอมเพล็กซ์ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในนาม Hermitage นั้นตั้งอยู่ในพระราชวังที่สร้างขึ้นตามคำสั่งของเธอ และทำเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงผลงานศิลปะที่น่าประทับใจที่สุดของรัสเซีย ติดกับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ Winter Palace สุดวิจิตรด้วยสีเขียว ทอง และสีขาว
ห่างออกไป 25 กิโลเมตร ทางตอนใต้ของเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม Tsarskoe Selo Catherine Palace ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่การตกแต่งภายนอกด้วยปูนปั้นและทองคำได้รับการบูรณะให้กลับมางดงามอีกครั้ง ภายในมีห้องโถงใหญ่ ห้องอาหาร และห้องภาพบุคคล ซึ่งรวมถึงภาพวาดของ Catherine II ในท่วงท่าแสนสง่างาม ซูสีไทเฮา
กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
ซูสีไทเฮาเป็นหนึ่งในสตรีที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์นับพันปีของจีน หลังการสิ้นสุดยุคสมัยของจักรพรรดิเสียนเฟิงผู้เป็นสวามี พระนางยึดอำนาจจากรัฐและให้บุตรชายขึ้นครองบัลลังก์เป็นจักรพรรดิถงจื้อตั้งแต่อายุยังน้อยโดยมีเธอเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ตลอดช่วงเวลานั้นเธอจึงเป็นผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังการทำงานของรัฐจวบจนสิ้นพระชนม์
เมื่อมีโอกาสได้ไปไปเยือนพระราชวังต้องห้าม แนะนำให้ชมพระราชวังฤดูร้อนซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักพิงของพระนางหลังการเกษียณอายุ นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมที่พักอาศัยส่วนตัวของเธอในตำหนักเล่อโซ่วถาง (Hall of Joy and Longevity) รวมถึง Grand Theatre ที่จักรพรรดินีชอบมาชมการแสดงโอเปร่า มารี กูว์รี
วอร์ซอว์ ประเทศโปแลนด์
สตรีผู้ได้รับรางวัลโนเบลถึงสองครั้ง จึงไม่น่าแปลกที่เธอจะเป็นความภาคภูมิใจของชาวโปแลนด์ แม้ว่าโลกจะจดจำชื่อหลังแต่งงานของเธอ แต่นักวิทยาศาสตร์หลายคนก็ไม่เคยทอดทิ้งนามสกุลโปแลนด์ดั้งเดิมของเธอ ดังนั้นพิพิธภัณฑ์ Marie Skłodowska-Curie แห่งกรุงวอร์ซอว์ จึงเป็นการให้เกียรติสูงสุดแก่เธอ
เลี้ยวเข้าไปในอาคารสมัยศตวรรษที่ 18 ที่บูรณะขึ้นใหม่ ภายในจัดแสดงเอกสารและข้าวของดั้งเดิมของกูว์รี เธอเป็นผู้บุกเบิกการใช้รังสีจากเรเดียมคลอไรด์มาเป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีเพื่อต่อสู้กับมะเร็งที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน แต่น่าเศร้าที่ท้ายที่สุดรังสีเรเดียมกลับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เธอเสียชีวิต
การทิ้งระเบิดในปี 2482 และ 2487 ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองทำให้กรุงวอร์ซอ ราบเป็นหน้ากลอง แต่เมืองเก่าได้ถูกสร้างขึ้นใหม่อย่างระมัดระวังและละเอียดสุด ๆ โดยใช้อิฐก้อนเดิม แนะนำให้ลองไปเดินเล่นข้ามจัตุรัสเมืองเก่าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกเพื่อชมบ้านพ่อค้าในศตวรรษที่ 13 และอาคารสไตล์เรอเนสซองซ์ที่หรูหราราวกับอยู่ในช่วงชีวิตเดียวกับมารี กูว์รี แอนน์ แฟรงค์
เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
ไม่มีเรื่องราวใดจะเจ็บปวดไปกว่าชีวิตของชาวยิวที่ต้องหลบซ่อนตัวเองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง บันทึกของแอนน์ แฟรงค์ จัดพิมพ์โดยพ่อของเธอหลังจากที่เธอเสียชีวิตในค่ายกักกัน Bergen-Belsen ภายในสมุดบันทึกเล่าถึงครอบครัวของเธอในระยะเวลาสองปีที่ต้องซ่อนตัวในอัมสเตอร์ดัม
ครอบครัวของเธอซ่อนตัวอยู่ในห้องลับเบื้องหลังตู้หนังสือภายในอาคารอิฐแคบ ๆ ซึ่งเป็นบ้านของพ่อค้าสมัยศตวรรษที่ 17 ทุกวันนี้ได้รับการอนุรักษ์ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ มีสิ่งของมากกว่า 15,000 รายการที่แสดงให้เห็นชีวิตของครอบครัวระหว่างการหลบซ่อนและยังมีไดอารี่ดั้งเดิมของเธอให้ได้ชม มีรูปปั้นของแอนน์มองขึ้นไปบนท้องฟ้า ตั้งอยู่ด้านนอกใกล้ ๆ กับบ้านหลังนี้
นักท่องเที่ยวสามารถยืมจักรยานจากสถานีเช่าหลายแห่งในบริเวณใกล้เคียงและมุ่งหน้าไปทางตะวันออกเพื่อเยี่ยมชม Nieuwe Amstelstraat ที่นี่เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชาวยิว ที่บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของชุมชนชาวยิวยุคก่อนสงครามในอัมสเตอร์ดัม ซีมอน เดอ โบวัวร์
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
นักเขียนหญิงที่โด่งดังที่สุดในศตวรรษที่ยี่สิบของปารีสทำลายแนวคิดโบราณของความเป็นหญิงด้วยปลายปากกาของเธอ ในหนังสือ The Second Sex ของเธอมีประโยคสำคัญอย่าง “ คนไม่ได้เกิดมาเป็นผู้หญิง หากแต่กลายเป็นผู้หญิง” มาสั่นสะเทือนความคิดในการจำกัดความเป็นผู้หญิงจนเกิดการเปลี่ยนแปลงมาจนถึงปัจจุบันนี้
แม้ว่าโบวัวร์จะเป็นนักเดินทางตัวยง แต่คาเฟ่ในปารีสก็เป็นสถานที่โปรดในการลับคมความคิดของเธอ อย่างที่คาเฟ่ Les Deux Magots ใน Saint-Germain-des-Prés มักจะมีโต๊ะและเก้าอี้หวายเรียงรายอยู่ด้านนอก แต่โบวัวร์มักจะนั่งเขียนงานอยู่ในมุมใดมุมหนึ่งเงียบ ๆ ห่างไปเพียงไม่กี่ก้าวก็คือ Café de Flore การตกแต่งภายในแบบอาร์ตเดคโคได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดี และไม่เปลี่ยนไปมากนักจากยุคของโบวัวร์
คุณยังตามรอยชีวิตของโบวัวร์ได้ที่ Hotel La Louisiane ซึ่งเธออาศัยอยู่ตั้งแต่ปี 1943 จนถึง 1948 รวมถึงที่สวนลุกซ็องบูร์ ที่เธอเคยมานั่งถกเถียงเรื่องจริยธรรมในมุมสงบบริเวณน้ำพุเมดิชี เรื่องราวของโบวัวร์จะสิ้นสุดลงด้วยการนั่งรถไฟใต้ดินระยะสั้น ๆ ไปยังสุสานมงปานาซ ซึ่งเป็นสถานพำนักสุดท้ายของเธอ ฟริดา กาโล
เม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก
สายตาที่จ้องมองกับคิ้วหนาชนกันเป็นเอกลักษณ์ทำให้ภาพวาดของฟริดาเป็นที่จดจำได้ทันที นอกจากนั้นชุดพื้นเมืองที่เธอสวมใส่ยังทำให้เธอกลายเป็นสไตล์ไอคอน ณ ช่วงเวลานั้น
ฟริดาอาศัยอยู่ที่ Casa Azul หรือบ้านสีน้ำเงิน ในเม็กซิโกซิตี้เป็นเวลาหลายปี ปัจจุบันนี้บ้านของเธอกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ Museo Frida Kahlo ที่อัดแน่นไปด้วยสิ่งของเครื่องใช้จากตลอดช่วงชีวิตของจิตรกรหญิงผู้นี้ ทั้งเครื่องประดับเครื่องแต่งกาย และภาพถ่ายของดิเอโก ริเวร่า นักจิตรกรรมฝาผนังและสามีของเธอ งานศิลปะที่เธอรวบรวมเอาไว้นั้นยังจัดแสดงอยู่
การเที่ยวตามรอยสถานที่โปรดของฟริด้า เริ่มต้นที่คลอง Xochimilco ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเม็กซิโกซิตี้ ขึ้นเรือและแล่นไปตามสายน้ำฟังวงดนตรีมาราจิและจิบเตกีล่า ดื่มด่ำกับความสนุกสนานตามแบบฉบับของจิตรกรหญิงผู้เป็นแรงบันดาลใจแก่คนทั้งโลก
ฟาโรห์แฮตเชปซุต
ลุกซอร์ ประเทศอียิปต์
แฮตเชปซุต เป็นฟาโรห์หญิงที่ขึ้นสู่อำนาจราว ๆ 1508–1458 ก่อนคริสตกาล นับเป็นเวลานานกว่าศตวรรษก่อนยุคสมัยของคลีโอพัตรา เธอได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเมื่อสามีโมโมสที่สองของเธอเสียชีวิต แฮตเชปซุตจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับอำนาจเต็มของฟาโรห์ ตลอดรัชสมัย 20 ปี เธอได้สร้างอนุสาวรีย์ที่ยิ่งใหญ่และบันทึกเรื่องราวของตนลงในประวัติศาสตร์ของอียิปต์ซึ่งบางส่วนยังคงอยู่ในปัจจุบัน
การตามรอยเริ่มต้นที่วิหารลุกซอร์ ซึ่งมีเสาและสฟิงซ์สูงตระหง่าน จากนั้นมุ่งหน้าไปทางตะวันตกเฉียงเหนือบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ เพื่อไปเยี่ยมชมวัดอนุสรณ์แฮตเชปซุต วิหารหลายชั้นที่แกะสลักในหน้าผาสูง 300 เมตร ภายในมีศาลบูชาเทพ Anubis และ Hathor เทพีแห่งความรัก ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นที่ตั้งของหุบเขาสุสานกษัตริย์ โดยสุสานของแฮตเชปซุตนั้นอยู่ที่เดียวกับบิดาของเธอ ซึ่งอยู่ลึกเกือบ 100 เมตร
ไม่นานหลังแฮตเชปซุตจากไป มีความพยายามของกลุ่มคนที่จะลบชื่อของเธอออกจากประวัติศาสตร์และพยายามเอามรดกทุกอย่างที่เคยเป็นของเธอมาสร้างความชอบธรรมขึ้นใหม่เป็นของพวกตน แม้จะมีความพยายามที่จะลบลืมราชินีฟาโรห์ให้กลายเป็นฝุ่น แต่อนุสาวรีย์มหึมาของแฮตเชปซุตก็ทนอยู่ได้หลายศตวรรษและชื่อของเธอก็ยังคงเป็นที่จดจำไปทั่วโลก
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย
แม้ว่าเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กจะมีชื่อตามพระนามของพระมหากษัตริย์รัสเซียที่ยิ่งใหญ่อีกคน แต่เมืองอันเก่าแก่ก็เป็นที่ตั้งของพระราชวังที่เชื่อมโยงกับชีวิตของแคทเธอรีนที่สอง จักรพรรดินีแห่งรัสเซีย รัชสมัยของแคทเธอรีนถือได้ว่าเป็นยุคทอง เธอใช้อุดมการณ์อันก้าวไกลผลักดันการปฏิรูปสังคมและจักรวรรดิรัสเซียให้เติบโตทั้งอำนาจและขนาดของประเทศ จากการประมาณการ เธอขยายขอบเขตประเทศไปมากกว่า 500,000 ตารางกิโลเมตร
คอมเพล็กซ์ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในนาม Hermitage นั้นตั้งอยู่ในพระราชวังที่สร้างขึ้นตามคำสั่งของเธอ และทำเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงผลงานศิลปะที่น่าประทับใจที่สุดของรัสเซีย ติดกับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ Winter Palace สุดวิจิตรด้วยสีเขียว ทอง และสีขาว
ห่างออกไป 25 กิโลเมตร ทางตอนใต้ของเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม Tsarskoe Selo Catherine Palace ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่การตกแต่งภายนอกด้วยปูนปั้นและทองคำได้รับการบูรณะให้กลับมางดงามอีกครั้ง ภายในมีห้องโถงใหญ่ ห้องอาหาร และห้องภาพบุคคล ซึ่งรวมถึงภาพวาดของ Catherine II ในท่วงท่าแสนสง่างาม
กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
ซูสีไทเฮาเป็นหนึ่งในสตรีที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์นับพันปีของจีน หลังการสิ้นสุดยุคสมัยของจักรพรรดิเสียนเฟิงผู้เป็นสวามี พระนางยึดอำนาจจากรัฐและให้บุตรชายขึ้นครองบัลลังก์เป็นจักรพรรดิถงจื้อตั้งแต่อายุยังน้อยโดยมีเธอเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ตลอดช่วงเวลานั้นเธอจึงเป็นผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังการทำงานของรัฐจวบจนสิ้นพระชนม์
เมื่อมีโอกาสได้ไปไปเยือนพระราชวังต้องห้าม แนะนำให้ชมพระราชวังฤดูร้อนซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักพิงของพระนางหลังการเกษียณอายุ นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมที่พักอาศัยส่วนตัวของเธอในตำหนักเล่อโซ่วถาง (Hall of Joy and Longevity) รวมถึง Grand Theatre ที่จักรพรรดินีชอบมาชมการแสดงโอเปร่า
วอร์ซอว์ ประเทศโปแลนด์
สตรีผู้ได้รับรางวัลโนเบลถึงสองครั้ง จึงไม่น่าแปลกที่เธอจะเป็นความภาคภูมิใจของชาวโปแลนด์ แม้ว่าโลกจะจดจำชื่อหลังแต่งงานของเธอ แต่นักวิทยาศาสตร์หลายคนก็ไม่เคยทอดทิ้งนามสกุลโปแลนด์ดั้งเดิมของเธอ ดังนั้นพิพิธภัณฑ์ Marie Skłodowska-Curie แห่งกรุงวอร์ซอว์ จึงเป็นการให้เกียรติสูงสุดแก่เธอ
เลี้ยวเข้าไปในอาคารสมัยศตวรรษที่ 18 ที่บูรณะขึ้นใหม่ ภายในจัดแสดงเอกสารและข้าวของดั้งเดิมของกูว์รี เธอเป็นผู้บุกเบิกการใช้รังสีจากเรเดียมคลอไรด์มาเป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีเพื่อต่อสู้กับมะเร็งที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน แต่น่าเศร้าที่ท้ายที่สุดรังสีเรเดียมกลับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เธอเสียชีวิต
การทิ้งระเบิดในปี 2482 และ 2487 ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองทำให้กรุงวอร์ซอ ราบเป็นหน้ากลอง แต่เมืองเก่าได้ถูกสร้างขึ้นใหม่อย่างระมัดระวังและละเอียดสุด ๆ โดยใช้อิฐก้อนเดิม แนะนำให้ลองไปเดินเล่นข้ามจัตุรัสเมืองเก่าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกเพื่อชมบ้านพ่อค้าในศตวรรษที่ 13 และอาคารสไตล์เรอเนสซองซ์ที่หรูหราราวกับอยู่ในช่วงชีวิตเดียวกับมารี กูว์รี
เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
ไม่มีเรื่องราวใดจะเจ็บปวดไปกว่าชีวิตของชาวยิวที่ต้องหลบซ่อนตัวเองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง บันทึกของแอนน์ แฟรงค์ จัดพิมพ์โดยพ่อของเธอหลังจากที่เธอเสียชีวิตในค่ายกักกัน Bergen-Belsen ภายในสมุดบันทึกเล่าถึงครอบครัวของเธอในระยะเวลาสองปีที่ต้องซ่อนตัวในอัมสเตอร์ดัม
ครอบครัวของเธอซ่อนตัวอยู่ในห้องลับเบื้องหลังตู้หนังสือภายในอาคารอิฐแคบ ๆ ซึ่งเป็นบ้านของพ่อค้าสมัยศตวรรษที่ 17 ทุกวันนี้ได้รับการอนุรักษ์ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ มีสิ่งของมากกว่า 15,000 รายการที่แสดงให้เห็นชีวิตของครอบครัวระหว่างการหลบซ่อนและยังมีไดอารี่ดั้งเดิมของเธอให้ได้ชม มีรูปปั้นของแอนน์มองขึ้นไปบนท้องฟ้า ตั้งอยู่ด้านนอกใกล้ ๆ กับบ้านหลังนี้
นักท่องเที่ยวสามารถยืมจักรยานจากสถานีเช่าหลายแห่งในบริเวณใกล้เคียงและมุ่งหน้าไปทางตะวันออกเพื่อเยี่ยมชม Nieuwe Amstelstraat ที่นี่เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชาวยิว ที่บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของชุมชนชาวยิวยุคก่อนสงครามในอัมสเตอร์ดัม
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
นักเขียนหญิงที่โด่งดังที่สุดในศตวรรษที่ยี่สิบของปารีสทำลายแนวคิดโบราณของความเป็นหญิงด้วยปลายปากกาของเธอ ในหนังสือ The Second Sex ของเธอมีประโยคสำคัญอย่าง “ คนไม่ได้เกิดมาเป็นผู้หญิง หากแต่กลายเป็นผู้หญิง” มาสั่นสะเทือนความคิดในการจำกัดความเป็นผู้หญิงจนเกิดการเปลี่ยนแปลงมาจนถึงปัจจุบันนี้
แม้ว่าโบวัวร์จะเป็นนักเดินทางตัวยง แต่คาเฟ่ในปารีสก็เป็นสถานที่โปรดในการลับคมความคิดของเธอ อย่างที่คาเฟ่ Les Deux Magots ใน Saint-Germain-des-Prés มักจะมีโต๊ะและเก้าอี้หวายเรียงรายอยู่ด้านนอก แต่โบวัวร์มักจะนั่งเขียนงานอยู่ในมุมใดมุมหนึ่งเงียบ ๆ ห่างไปเพียงไม่กี่ก้าวก็คือ Café de Flore การตกแต่งภายในแบบอาร์ตเดคโคได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดี และไม่เปลี่ยนไปมากนักจากยุคของโบวัวร์
คุณยังตามรอยชีวิตของโบวัวร์ได้ที่ Hotel La Louisiane ซึ่งเธออาศัยอยู่ตั้งแต่ปี 1943 จนถึง 1948 รวมถึงที่สวนลุกซ็องบูร์ ที่เธอเคยมานั่งถกเถียงเรื่องจริยธรรมในมุมสงบบริเวณน้ำพุเมดิชี เรื่องราวของโบวัวร์จะสิ้นสุดลงด้วยการนั่งรถไฟใต้ดินระยะสั้น ๆ ไปยังสุสานมงปานาซ ซึ่งเป็นสถานพำนักสุดท้ายของเธอ
เม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก
สายตาที่จ้องมองกับคิ้วหนาชนกันเป็นเอกลักษณ์ทำให้ภาพวาดของฟริดาเป็นที่จดจำได้ทันที นอกจากนั้นชุดพื้นเมืองที่เธอสวมใส่ยังทำให้เธอกลายเป็นสไตล์ไอคอน ณ ช่วงเวลานั้น
ฟริดาอาศัยอยู่ที่ Casa Azul หรือบ้านสีน้ำเงิน ในเม็กซิโกซิตี้เป็นเวลาหลายปี ปัจจุบันนี้บ้านของเธอกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ Museo Frida Kahlo ที่อัดแน่นไปด้วยสิ่งของเครื่องใช้จากตลอดช่วงชีวิตของจิตรกรหญิงผู้นี้ ทั้งเครื่องประดับเครื่องแต่งกาย และภาพถ่ายของดิเอโก ริเวร่า นักจิตรกรรมฝาผนังและสามีของเธอ งานศิลปะที่เธอรวบรวมเอาไว้นั้นยังจัดแสดงอยู่
การเที่ยวตามรอยสถานที่โปรดของฟริด้า เริ่มต้นที่คลอง Xochimilco ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเม็กซิโกซิตี้ ขึ้นเรือและแล่นไปตามสายน้ำฟังวงดนตรีมาราจิและจิบเตกีล่า ดื่มด่ำกับความสนุกสนานตามแบบฉบับของจิตรกรหญิงผู้เป็นแรงบันดาลใจแก่คนทั้งโลก