บ้านไม้โบราณนั้น มีเสน่ห์ของงานสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์น่าหลงใหล ในเมืองไทยมีบ้านไม้สวยๆ ที่อายุนับศตวรรษหลงเหลือและยังมีความสมบูรณ์ ไม่มากนัก แต่บ้านที่เหลืออยู่ก็ได้รับการดูแลอย่างดีจากทายาทรุ่นปัจจุบัน
The Passport รวบรวมบ้านไม้โบราณสวยๆ ที่น่าแวะไปเที่ยวชมมาให้ผู้อ่าน จำนวน 10 หลัง ซึ่งมีทั้งบ้านเก่าแก่สำหรับอยู่อาศัย บ้านที่ดัดแปลงมาเป็นร้านอาหาร คาเฟ่ร่วมสมัย หรือบ้านที่กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น บ้านเสานัก จ.ลำปาง
บ้านไม้สักโบราณตั้งแต่ยุคค้าขายเมื่อร้อยกว่าปีก่อน เป็นบ้านของคหบดีชาวเมียนมา ที่มีเอกลักษณ์ของเสาเรือนไม้สักถึง 116 ต้น สะท้อนสถาปัตยกรรมล้านนาผสมเมียนมา และบันทึกเรื่องราวในอดีตของเมืองลำปาง
ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง ลำปาง
เปิดทุกวัน 10.00-17.00 น. ค่าชม 30 บาท
โทร. 054-227 653 ,054-224 636
facebook.com/BaanSaoNak กิติพานิช จ.เชียงใหม่
อาคารพาณิชย์อายุกว่าศตวรรษที่สร้างจากไม้สัก เป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ ที่ปัจจุบันทายาทรีโนเวทมาเป็นร้านอาหารล้านนาร่วมสมัย
อ่านเรื่องราวของอาคารกิติพานิชได้ที่ กิติพานิช จากตึกเก่าร้อยปีสู่ร้านอาหารล้านนาร่วมสมัย บ้านหลุยส์ จ.ลำปาง
บ้านหลุยส์ หรือบ้านหลุยส์ ที เลียวโนเวนส์ ในชุมชนท่ามะโอ จังหวัดลำปาง บ้านโบราณอายุกว่าร้อยปีในพื้นที่บ้านพักองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งบ้านหลังนี้ก็คือบ้านของนายหลุยส์ นายห้างค้าไม้ผู้เป็นลูกชายของแหม่มแอนนา สตรีชาวอังกฤษผู้โด่งดัง ในรัชกาลที่ 4 นั่นเอง
บ้านหลุยส์ตกเป็นทรัพย์สินขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ โดยได้รับการอนุรักษ์ และเปิดให้เที่ยวชม จัดกิจกรรมต่างๆมาตั้งแต่ปี 2561 แต่ปัจจุบันเนื่องจากบ้านมีอายุมาก จึงต้องปิดชั่วคราวเพื่อทำการซ่อมแซมครั้งใหญ่อีกครั้ง บ้าน (จีนทองอยู่) หลวงบริรักษ์ประชากร จ.ตาก
หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวแนววัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของจังหวัดตาก คือ ที่ตรอกบ้านจีน ชุมชนเก่าใจกลางเมืองซึ่งมีบ้านนายจีนทองอยู่ แซ่ลิ้ม หรือบ้านหลวงบริรักษ์ประชากร ชาวจีนอพยพมาทำมาค้าขายในเมืองตาก และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นหลวงบริรักษ์ประชากร ผู้ทำหน้าที่เก็บภาษีอากร
บ้านหลังนี้เปิดบางส่วนเป็นที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว และเก็บข้าวของมีค่าไว้เสมือนพิพิธภัณฑ์ชุมชน
ตรอกบ้านจีน ต.ระแหง อ.เมือง จ.ตาก
สอบถามรายละเอียด สำนักงาน ททท.จังหวัดตาก โทร. 055-514 341-3 บ้านขนมปังขิง จ.กรุงเทพฯ
เรือนไทยอายุกว่าศตวรรษ ในย่านเสาชิงช้า ที่บูรณะแล้วดัดแปลงมาเป็นร้านกาแฟ เบเกอรี กึ่งพิพิธภัณฑ์ โดดเด่นสถาปัตยกรรมแบบ Ginger Bread House หรือขนมปังขิง ซึ่งเป็นที่แพร่หลายในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชสมัยรัชกาลที่ 4
อ่านเรื่องราวของบ้านขนมปังขิงได้ที่ บ้านขนมปังขิง: คาเฟ่เรือนไทยสไตล์ตะวันตกแห่งย่านเสาชิงช้า กาแฟชายกว๊าน จ.พะเยา
บ้านเก่าแก่อายุนับร้อยปีของคหบดีในเมืองพะเยา สะดุดตาด้วยเรือนไม้สีครีมขาวสองชั้นสถาปัตยกรรมแบบบ้านไม้โบราณทางเหนือที่สร้างมาตั้งแต่ยุครัชกาลที่ 6
ปัจจุบันรีโนเวทมาเป็นร้านอาหารและร้านกาแฟ ชื่อกาแฟชายกว๊าน ตั้งอยู่ในบริเวณโรงแรมชายกว๊าน
อ่านเรื่องราวของกาแฟชายกว๊านได้ที่ กาแฟชายกว๊าน: อิ่มความรักในบ้านเก่าเมืองพะเยา คุ้มวงศ์บุรี จ.แพร่
เรือนไม้สักทองอายุกว่าร้อยปี ทรงไทยผสมยุโรป ประดับตกแต่งด้วยลวดลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิง ฝีมือช่างชาวจีน สร้างขึ้นตามดำริของแม่เจ้าบัวถา มหายศปัณญา ชายาองค์แรกของเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ เจ้าหลวงเมืองแพร่องค์สุดท้าย เพื่อเป็นของกำนัลในการเสกสมรสระหว่างเจ้าสุนันตา ผู้เป็นบุตรีพระยาบุรีรัตน์ (น้องชาย) ที่รับมาเป็นบุตรีบุญธรรม กับ คุณหลวงพงษ์พิบูล(เจ้าพรหม วงศ์พระถาง) โดยทั้งสองได้ใช้เรือนหลังนี้เป็นเรือนหอในพิธีเสกสมรส
ปัจจุบัน เป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชน ถ่ายทอดเรื่องราวของเจ้านายในอดีต
ถนนคำลือ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 54000
โทร. 08-1883-0546 บ้านยาหอม จ.กรุงเทพฯ
บ้านไม้สักโบราณอายุกว่า 100 ปี ซึ่งเคยเป็นที่รู้จักกันในนามบ้านตะนาว เป็นบ้านของตระกูลหมอยาครอบครัวบุณยะรัตเวช ตระกูลผู้สร้างตำนานยาหอมสุคนธโอสถ “ตราม้า” ที่เลื่องชื่อในอดีตมาตั้งแต่สมัยปลายรัชกาลที่ 4 ส่วนบ้านหลังนี้ สร้างขึ้นเมื่อปี 2465 สมัยรัชกาลที่ 6
ปัจจุบันรีโนเวทมาเป็นคาเฟ่สวยคลาสสิค บรรยากาศดีมาก
อ่านเรื่องราวของบ้านยาหอมได้ที่ บ้านยาหอม: คาเฟ่ในบ้านหมอยา 5 แผ่นดิน โฮงเจ้าฟองคำ จ.น่าน
เรือนสองชั้นยกใต้ถุนสูง สร้างจากไม้สักหลังใหญ่แบบล้านนาเรือนคู่ เดิมเป็นบ้านของเจ้าศรีตุมมา ยายของเจ้าฟองคำ ซึ่งเจ้าฟองคำเป็นเชื้อสายของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชเจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 62 ของเมืองน่าน ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าผู้ครองนครสององค์สุดท้าย
ปัจจุบันได้รับการดูแลอย่างดี พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการเรียนรู้ประจำชุมชน ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่าน
ถนนสุมนเทวราช ซอย 2 อำเภอเมือง
เปิดให้เข้าชม 09.00 – 17.00 น. หยุดทุกวัน จันทร์-อังคาร
ค่าเข้าชมคนละ 20 บาท
โทร. 054 710 537 หรือ 08-9560-6988 คุ้มเจ้ายอดเรือน จ.ลำพูน
เจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย สร้างเรือนไม้หลังนี้เพื่อมอบให้แก่ชายา คือ เจ้ายอดเรือน ซึ่งเป็นพระชายาองค์สุดท้าย เรือนไม้อายุเกือบศตวรรษยังได้รับการดูแลอย่างดี เป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์ชุมชนที่เก็บเรื่องราวในอดีต และข้าวของโบราณ ปัจจุบันเป็นที่พักอาศัยของทายาท
สามารถเที่ยวชมคุ้มเจ้าฯ ผ่านการใช้บริการรถรางนำเที่ยว บริเวณหน้าลานวัดพระธาตุหริภุญชัย
บริการวันอังคาร-อาทิตย์ (หยุดวันจันทร์) รอบเช้า 09.30 น. รอบบ่าย 13.30 น. ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท
โทร. 0-5351-1013
The Passport รวบรวมบ้านไม้โบราณสวยๆ ที่น่าแวะไปเที่ยวชมมาให้ผู้อ่าน จำนวน 10 หลัง ซึ่งมีทั้งบ้านเก่าแก่สำหรับอยู่อาศัย บ้านที่ดัดแปลงมาเป็นร้านอาหาร คาเฟ่ร่วมสมัย หรือบ้านที่กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น บ้านเสานัก จ.ลำปาง
บ้านไม้สักโบราณตั้งแต่ยุคค้าขายเมื่อร้อยกว่าปีก่อน เป็นบ้านของคหบดีชาวเมียนมา ที่มีเอกลักษณ์ของเสาเรือนไม้สักถึง 116 ต้น สะท้อนสถาปัตยกรรมล้านนาผสมเมียนมา และบันทึกเรื่องราวในอดีตของเมืองลำปาง
ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง ลำปาง
เปิดทุกวัน 10.00-17.00 น. ค่าชม 30 บาท
โทร. 054-227 653 ,054-224 636
facebook.com/BaanSaoNak
อาคารพาณิชย์อายุกว่าศตวรรษที่สร้างจากไม้สัก เป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ ที่ปัจจุบันทายาทรีโนเวทมาเป็นร้านอาหารล้านนาร่วมสมัย
อ่านเรื่องราวของอาคารกิติพานิชได้ที่ กิติพานิช จากตึกเก่าร้อยปีสู่ร้านอาหารล้านนาร่วมสมัย
บ้านหลุยส์ หรือบ้านหลุยส์ ที เลียวโนเวนส์ ในชุมชนท่ามะโอ จังหวัดลำปาง บ้านโบราณอายุกว่าร้อยปีในพื้นที่บ้านพักองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งบ้านหลังนี้ก็คือบ้านของนายหลุยส์ นายห้างค้าไม้ผู้เป็นลูกชายของแหม่มแอนนา สตรีชาวอังกฤษผู้โด่งดัง ในรัชกาลที่ 4 นั่นเอง
บ้านหลุยส์ตกเป็นทรัพย์สินขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ โดยได้รับการอนุรักษ์ และเปิดให้เที่ยวชม จัดกิจกรรมต่างๆมาตั้งแต่ปี 2561 แต่ปัจจุบันเนื่องจากบ้านมีอายุมาก จึงต้องปิดชั่วคราวเพื่อทำการซ่อมแซมครั้งใหญ่อีกครั้ง
หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวแนววัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของจังหวัดตาก คือ ที่ตรอกบ้านจีน ชุมชนเก่าใจกลางเมืองซึ่งมีบ้านนายจีนทองอยู่ แซ่ลิ้ม หรือบ้านหลวงบริรักษ์ประชากร ชาวจีนอพยพมาทำมาค้าขายในเมืองตาก และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นหลวงบริรักษ์ประชากร ผู้ทำหน้าที่เก็บภาษีอากร
บ้านหลังนี้เปิดบางส่วนเป็นที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว และเก็บข้าวของมีค่าไว้เสมือนพิพิธภัณฑ์ชุมชน
ตรอกบ้านจีน ต.ระแหง อ.เมือง จ.ตาก
สอบถามรายละเอียด สำนักงาน ททท.จังหวัดตาก โทร. 055-514 341-3
เรือนไทยอายุกว่าศตวรรษ ในย่านเสาชิงช้า ที่บูรณะแล้วดัดแปลงมาเป็นร้านกาแฟ เบเกอรี กึ่งพิพิธภัณฑ์ โดดเด่นสถาปัตยกรรมแบบ Ginger Bread House หรือขนมปังขิง ซึ่งเป็นที่แพร่หลายในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชสมัยรัชกาลที่ 4
อ่านเรื่องราวของบ้านขนมปังขิงได้ที่ บ้านขนมปังขิง: คาเฟ่เรือนไทยสไตล์ตะวันตกแห่งย่านเสาชิงช้า
บ้านเก่าแก่อายุนับร้อยปีของคหบดีในเมืองพะเยา สะดุดตาด้วยเรือนไม้สีครีมขาวสองชั้นสถาปัตยกรรมแบบบ้านไม้โบราณทางเหนือที่สร้างมาตั้งแต่ยุครัชกาลที่ 6
ปัจจุบันรีโนเวทมาเป็นร้านอาหารและร้านกาแฟ ชื่อกาแฟชายกว๊าน ตั้งอยู่ในบริเวณโรงแรมชายกว๊าน
อ่านเรื่องราวของกาแฟชายกว๊านได้ที่ กาแฟชายกว๊าน: อิ่มความรักในบ้านเก่าเมืองพะเยา คุ้มวงศ์บุรี จ.แพร่
เรือนไม้สักทองอายุกว่าร้อยปี ทรงไทยผสมยุโรป ประดับตกแต่งด้วยลวดลายไม้ฉลุแบบขนมปังขิง ฝีมือช่างชาวจีน สร้างขึ้นตามดำริของแม่เจ้าบัวถา มหายศปัณญา ชายาองค์แรกของเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ เจ้าหลวงเมืองแพร่องค์สุดท้าย เพื่อเป็นของกำนัลในการเสกสมรสระหว่างเจ้าสุนันตา ผู้เป็นบุตรีพระยาบุรีรัตน์ (น้องชาย) ที่รับมาเป็นบุตรีบุญธรรม กับ คุณหลวงพงษ์พิบูล(เจ้าพรหม วงศ์พระถาง) โดยทั้งสองได้ใช้เรือนหลังนี้เป็นเรือนหอในพิธีเสกสมรส
ปัจจุบัน เป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชน ถ่ายทอดเรื่องราวของเจ้านายในอดีต
ถนนคำลือ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 54000
โทร. 08-1883-0546
บ้านไม้สักโบราณอายุกว่า 100 ปี ซึ่งเคยเป็นที่รู้จักกันในนามบ้านตะนาว เป็นบ้านของตระกูลหมอยาครอบครัวบุณยะรัตเวช ตระกูลผู้สร้างตำนานยาหอมสุคนธโอสถ “ตราม้า” ที่เลื่องชื่อในอดีตมาตั้งแต่สมัยปลายรัชกาลที่ 4 ส่วนบ้านหลังนี้ สร้างขึ้นเมื่อปี 2465 สมัยรัชกาลที่ 6
ปัจจุบันรีโนเวทมาเป็นคาเฟ่สวยคลาสสิค บรรยากาศดีมาก
อ่านเรื่องราวของบ้านยาหอมได้ที่ บ้านยาหอม: คาเฟ่ในบ้านหมอยา 5 แผ่นดิน
เรือนสองชั้นยกใต้ถุนสูง สร้างจากไม้สักหลังใหญ่แบบล้านนาเรือนคู่ เดิมเป็นบ้านของเจ้าศรีตุมมา ยายของเจ้าฟองคำ ซึ่งเจ้าฟองคำเป็นเชื้อสายของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชเจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 62 ของเมืองน่าน ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าผู้ครองนครสององค์สุดท้าย
ปัจจุบันได้รับการดูแลอย่างดี พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการเรียนรู้ประจำชุมชน ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่าน
ถนนสุมนเทวราช ซอย 2 อำเภอเมือง
เปิดให้เข้าชม 09.00 – 17.00 น. หยุดทุกวัน จันทร์-อังคาร
ค่าเข้าชมคนละ 20 บาท
โทร. 054 710 537 หรือ 08-9560-6988
เจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย สร้างเรือนไม้หลังนี้เพื่อมอบให้แก่ชายา คือ เจ้ายอดเรือน ซึ่งเป็นพระชายาองค์สุดท้าย เรือนไม้อายุเกือบศตวรรษยังได้รับการดูแลอย่างดี เป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์ชุมชนที่เก็บเรื่องราวในอดีต และข้าวของโบราณ ปัจจุบันเป็นที่พักอาศัยของทายาท
สามารถเที่ยวชมคุ้มเจ้าฯ ผ่านการใช้บริการรถรางนำเที่ยว บริเวณหน้าลานวัดพระธาตุหริภุญชัย
บริการวันอังคาร-อาทิตย์ (หยุดวันจันทร์) รอบเช้า 09.30 น. รอบบ่าย 13.30 น. ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท
โทร. 0-5351-1013