พุทธศาสนารุ่งเรืองมาเนิ่นนานในเมียนมา จนเป็นประเทศที่รู้จักกันในนามของดินแดนแห่งเจดีย์ทองคำ จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวในดินแดนแห่งนี้ จึงมีความเชื่อมโยงกับพุทธศาสนสถาน และเรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมชาวพุทธ
ในประเทศเมียนมา มี 5 ศาสนสถานล้ำค่าด้วยประวัติศาสตร์ และการเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธจากทั่วประเทศเมียนมา ที่นักเดินทางควรแวะไปเยี่ยมชมเพื่อสัมผัสความศรัทธาอันยิ่งใหญ่สักครั้งหนึ่งในชีวิต เจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง
หนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในเมียนมา ประดับด้วยแผ่นทองคำ พร้อมกับเพชรนับพัน และอัญมณีอื่น ๆ เชื่อกันว่าภายในนั้นเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระโคตมพุทธเจ้า เหล่านักโบราณคดีกล่าวว่า เจดีย์ดั้งเดิมสร้างขึ้นโดยชาวมอญ ในช่วงศตวรรษที่ 6 ถึง 10 เช่นเดียวกับเจดีย์อื่น ๆ ในประเทศ
นอกจากเจดีย์ชเวดากองจะเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธแล้ว ยังเคยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเรียกร้องทางการเมืองในเมียนมาอีกหลายต่อหลายครั้งเช่นกัน
ช่วงเช้า ๆ จะเป็นเวลาที่ดีที่สุดในการเยี่ยมชม เพื่อหลีกเลี่ยงนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่จะเข้ามาในช่วงสาย เหล่าชาวเมืองและบรรดาผู้เยี่ยมชม นิยมเข้ามาสักการะพระพุทธรูปประจำวันเกิด ซึ่งประดิษฐานอยู่บริเวณรอบฐานเจดีย์ ก่อนกลับอย่าลืมแวะไปชมพิพิธภัณฑ์ ซึ่งจัดแสดงพระพุทธรูป แบบจำลองของเจดีย์ งานศิลปะและแกลเลอรี่ที่มีภาพถ่ายระยะใกล้ของยอดบนสุดของเจดีย์ให้ได้ชม พระธาตุอินทร์แขวน (พระธาตุเจดีย์ไจก์ถิโย)
สถานที่แสวงบุญศักดิ์สิทธิ์ในรัฐมอญ ตั้งอยู่บนภูเขา Kyaiktiyo ความสูง 3,615 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล ด้านหนึ่งคือลานกว้างที่คลาคล่ำไปด้วยผู้คน นอกเหนือจากนักท่องเที่ยวแล้ว ก็เต็มไปด้วยชาวบ้านและพระสงฆ์ ที่เข้ามาสักการะพระธาตุบนก้อนหินฉาบสีทองที่ท้าทายแรงโน้มถ่วงของโลก การเดินทางขึ้นเขาสูงชัน 11 กิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่น่าจดจำ วิธีเดินทางที่สะดวกที่สุดคือการนั่งรถบรรทุกเปิดโล่ง ที่ดูคล้ายกับรถบัสสองชั้นและรถไฟเหาะตีลังกาในเวลาเดียวกัน เพราะตลอดเส้นทางขึ้นเขานั้นทั้งชันและเต็มไปด้วยโค้งหักศอก ด้านบนมีโรงแรมและร้านอาหารมากมาย นักท่องเที่ยวบางส่วนจึงขึ้นมาพักค้างคืนเพื่อดื่มด่ำบรรยากาศและตื่นมาชมวิวยามเช้า ในขณะเดียวกันชาวบ้านท้องถิ่นก็นิยมนำเสื่อหรือถุงนอนมานอนค้างคืนใต้แสงดาวและแสงเทียน เจดีย์ชเวสิกอง พุกาม
หนึ่งในห้ามหาเจดีย์แห่งเมียนมานี้ ตั้งอยู่ที่ปลายสุดด้านตะวันตกของเนียงอู พุกาม เจดีย์ขนาดใหญ่ทรงระฆังคว่ำ ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมแบบมอญ ซึ่งต่อมากลายเป็นต้นแบบของเจดีย์อีกหลายแห่งในประเทศ ยอดฉัตรด้านบนสุดประดับด้วยอัญมณีล้ำค่า ส่วนบริเวณฐานรอบเจดีย์จะเห็นภาพบอกเล่าเรื่องราวพุทธประวัติ
ในเดือนแปดของปฏิทินเมียนมา ซึ่งตรงกับเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายนของทุกปี จะมีเทศกาลประจำปี Shwezigon Pagoda Festival ถ้าหากไปเยือนพุกามในช่วงนี้ ก็จะได้พบกับแผงขายอาหารท้องถิ่น ร้านขายสินค้าทำมือและของที่รำลึก ชมการละเล่นพื้นเมือง และอย่าลืมขึ้นไปจุดเทียนถวายดอกไม้เพื่อสักการะองค์พระเจดีย์ เจดีย์ชเวมอดอร์ หงสาวดี
มีอีกชื่อหนึ่งว่าพระธาตุมุเตา เป็นเจดีย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในเมืองพะโค หรือหงสาวดี เพราะจัดเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในเมียนมา ด้วยขนาด 114 เมตร ในขณะที่เจดีย์ชเวดากองที่ย่างกุ้งนั้นมีความสูงอยู่ที่ 105 เมตร
หลังจากสักการะพระพุทธรูปประจำวันเกิด ซึ่งประดิษฐานอยู่โดยรอบฐานเจดีย์แล้ว อย่าลืมแวะไปชมพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงพระพุทธรูปจากไม้แกะสลักและพระพุทธรูปสำริดโบราณ รวมถึงโบราณวัตถุอื่น ๆ ที่ค้นพบหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปี 1930 รวมถึงภาพถ่ายของเจดีย์ในอดีต ก่อนจะได้รับการบูรณะจนเป็นอย่างที่เห็นกันในทุกวันนี้ พระมหามัยมุนี มัณฑะเลย์
มีความเชื่อที่น่าสนใจมากมายเกี่ยวกับพระพุทธรูปสีทองแห่งเมืองมัณฑะเลย์ ว่ากันว่าพระพุทธรูปเก่าแก่นี้มีอายุถึง 2,000 ปี และเชื่อกันว่าพระมหามันมุนีเป็น “พระพุทธรูปมีชีวิต” เนื่องจากพระพุทธเจ้าประทานลมหายใจให้ เพราะฉะนั้นในเวลา 4.30 น. จึงมีพิธีการล้างหน้าพระพุทธรูปเป็นประจำทุกเช้า และกินเวลานานทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามก็จะมีเหล่าพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมพิธีกรรมอยู่เสมอ
บริเวณทางออกด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ตั้งของหอนาฬิกาและพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งมีทั้งภาพวาดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าและภาพถ่ายโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวพุทธประวัติ
ในประเทศเมียนมา มี 5 ศาสนสถานล้ำค่าด้วยประวัติศาสตร์ และการเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธจากทั่วประเทศเมียนมา ที่นักเดินทางควรแวะไปเยี่ยมชมเพื่อสัมผัสความศรัทธาอันยิ่งใหญ่สักครั้งหนึ่งในชีวิต
หนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในเมียนมา ประดับด้วยแผ่นทองคำ พร้อมกับเพชรนับพัน และอัญมณีอื่น ๆ เชื่อกันว่าภายในนั้นเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระโคตมพุทธเจ้า เหล่านักโบราณคดีกล่าวว่า เจดีย์ดั้งเดิมสร้างขึ้นโดยชาวมอญ ในช่วงศตวรรษที่ 6 ถึง 10 เช่นเดียวกับเจดีย์อื่น ๆ ในประเทศ
นอกจากเจดีย์ชเวดากองจะเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธแล้ว ยังเคยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเรียกร้องทางการเมืองในเมียนมาอีกหลายต่อหลายครั้งเช่นกัน
ช่วงเช้า ๆ จะเป็นเวลาที่ดีที่สุดในการเยี่ยมชม เพื่อหลีกเลี่ยงนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่จะเข้ามาในช่วงสาย เหล่าชาวเมืองและบรรดาผู้เยี่ยมชม นิยมเข้ามาสักการะพระพุทธรูปประจำวันเกิด ซึ่งประดิษฐานอยู่บริเวณรอบฐานเจดีย์ ก่อนกลับอย่าลืมแวะไปชมพิพิธภัณฑ์ ซึ่งจัดแสดงพระพุทธรูป แบบจำลองของเจดีย์ งานศิลปะและแกลเลอรี่ที่มีภาพถ่ายระยะใกล้ของยอดบนสุดของเจดีย์ให้ได้ชม
สถานที่แสวงบุญศักดิ์สิทธิ์ในรัฐมอญ ตั้งอยู่บนภูเขา Kyaiktiyo ความสูง 3,615 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล ด้านหนึ่งคือลานกว้างที่คลาคล่ำไปด้วยผู้คน นอกเหนือจากนักท่องเที่ยวแล้ว ก็เต็มไปด้วยชาวบ้านและพระสงฆ์ ที่เข้ามาสักการะพระธาตุบนก้อนหินฉาบสีทองที่ท้าทายแรงโน้มถ่วงของโลก
หนึ่งในห้ามหาเจดีย์แห่งเมียนมานี้ ตั้งอยู่ที่ปลายสุดด้านตะวันตกของเนียงอู พุกาม เจดีย์ขนาดใหญ่ทรงระฆังคว่ำ ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมแบบมอญ ซึ่งต่อมากลายเป็นต้นแบบของเจดีย์อีกหลายแห่งในประเทศ ยอดฉัตรด้านบนสุดประดับด้วยอัญมณีล้ำค่า ส่วนบริเวณฐานรอบเจดีย์จะเห็นภาพบอกเล่าเรื่องราวพุทธประวัติ
ในเดือนแปดของปฏิทินเมียนมา ซึ่งตรงกับเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายนของทุกปี จะมีเทศกาลประจำปี Shwezigon Pagoda Festival ถ้าหากไปเยือนพุกามในช่วงนี้ ก็จะได้พบกับแผงขายอาหารท้องถิ่น ร้านขายสินค้าทำมือและของที่รำลึก ชมการละเล่นพื้นเมือง และอย่าลืมขึ้นไปจุดเทียนถวายดอกไม้เพื่อสักการะองค์พระเจดีย์
มีอีกชื่อหนึ่งว่าพระธาตุมุเตา เป็นเจดีย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในเมืองพะโค หรือหงสาวดี เพราะจัดเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในเมียนมา ด้วยขนาด 114 เมตร ในขณะที่เจดีย์ชเวดากองที่ย่างกุ้งนั้นมีความสูงอยู่ที่ 105 เมตร
หลังจากสักการะพระพุทธรูปประจำวันเกิด ซึ่งประดิษฐานอยู่โดยรอบฐานเจดีย์แล้ว อย่าลืมแวะไปชมพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงพระพุทธรูปจากไม้แกะสลักและพระพุทธรูปสำริดโบราณ รวมถึงโบราณวัตถุอื่น ๆ ที่ค้นพบหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปี 1930 รวมถึงภาพถ่ายของเจดีย์ในอดีต ก่อนจะได้รับการบูรณะจนเป็นอย่างที่เห็นกันในทุกวันนี้
มีความเชื่อที่น่าสนใจมากมายเกี่ยวกับพระพุทธรูปสีทองแห่งเมืองมัณฑะเลย์ ว่ากันว่าพระพุทธรูปเก่าแก่นี้มีอายุถึง 2,000 ปี และเชื่อกันว่าพระมหามันมุนีเป็น “พระพุทธรูปมีชีวิต” เนื่องจากพระพุทธเจ้าประทานลมหายใจให้ เพราะฉะนั้นในเวลา 4.30 น. จึงมีพิธีการล้างหน้าพระพุทธรูปเป็นประจำทุกเช้า และกินเวลานานทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามก็จะมีเหล่าพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมพิธีกรรมอยู่เสมอ
บริเวณทางออกด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ตั้งของหอนาฬิกาและพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งมีทั้งภาพวาดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าและภาพถ่ายโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวพุทธประวัติ