กาลาปากอส ดินแดนดึกดำบรรพ์ที่มีอยู่จริงบนผืนโลก

เกาะปริศนาที่ยังเปิดเผยไม่หมด
“ห้ามเข้าใกล้สัตว์” ไกด์ตะโกนลั่น กำชับเรื่องคำแนะนำให้นักท่องเที่ยวปฏิบัติตัว นักท่องเที่ยวที่มาเยือนอุทยานแห่งชาติกาลาปากอส ประเทศเอกวาดอร์ จะมีเจ้าหน้าที่อนุรักษ์ธรรมชาติคอยห้ามปราม เจ้าหน้าที่ที่ว่ามีหน้าที่หลักคือ รักษาระยะห่างประมาณ 2 เมตร ระหว่างมนุษย์และสัตว์

บางครั้ง ชาวบ้านที่นี่ก็พบว่า การหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าสัตว์ป่ากลายเป็นเรื่องยาก ผู้คนกว่า 30,000 ชีวิตอาศัยอยู่บนหมู่เกาะทั้ง 19 แห่ง ซึ่งลอยคว้างกลางมหาสมุทรแปซิฟิก 600 ไมล์จากชายฝั่งเอกวาดอร์ ประชากรครึ่งหนึ่งอาศัยอยู่ในเมือง Puerto Ayora บนเกาะ Santa Cruz โดยทำงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยว อนุรักษ์ การเกษตร และประมง เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ การเดินทางหนึ่งสัปดาห์บนหมู่เกาะ หมดไปกับการขึ้นเรือเป็นกลุ่ม เพื่อไปยังพื้นที่ห่างไกลจากมนุษย์

บนเกาะ Fernandina เกาะที่อายุน้อยที่สุด แก๊งค์อิกัวน่าทะเล ดูดำมะเมื่อมและตะปุ่มตะป่ำราวกับหินลาวา พวกมันนอนอาบแดด คืบคลานเข้ามาแล้วอาจจะจามใส่หน้าเรา ซึ่งไม่ใช่กิริยาที่แสดงความเป็นศัตรู การจามคือการขจัดเกลือส่วนเกินออกจากร่างกายพวกมันดูดซึมเข้าไป ระหว่างกินอาหารจำพวกสาหร่ายทะเล ในมหาสมุทร บน Isabela เกาะที่ใหญ่ที่สุด เราจะพบกับสัตว์ที่ทำให้ดาร์วินสนใจ ตอนที่เขาเดินเรือมาหยุดที่นี่เมื่อปี 1835 ระหว่างการเดินทางห้าปีบนเรือ HMS Beagle

เจ้าเต่ายักษ์ เดินอุ้ยอ้ายลอดผ่านพุ่มไม้หนามแหลม แล้วก็อ้าปากงับใบต้นแอปเปิ้ลที่มีพิษกิน แม้สายตาและการได้ยินของเจ้าเต่าจะกล่าวกันว่าแย่เกินเยียวยา แต่พวกมันจะหยุดกินหยุดเคี้ยว หากรับรู้ความรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนเมื่อใครเดินผ่าน การที่ชาร์ลส์ ดาร์วินสังเกตการณ์ปรับตัวของเต่า นกฟินซ์ และม็อคกิ้งเลิร์ด ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ทำให้เขาพัฒนาทฤษฏีวิวัฒนาการ โดยการเลือกของธรรมชาติไปอีก 20 ปี หลังจากเดินทางมาที่นี่

ผ่านไป 180 ปี แม้จะเป็นช่วงเวลาที่สั้นกว่าอายุขัยของเต่าบางตัวที่อาศัยอยู่บนเกาะ Isabela ปัจจุบันก็ยังมีการค้นพบสิ่งใหม่ๆ นักสัตววิทยา ได้บันทึกถึงความสามารถของเต่ายักษ์ที่ลดอัตราการเต้นของหัวใจลงเหลือ 1 ครั้ง ต่อนาที ในช่วงที่เกิดสภาวะแห้งแล้งสุดขั้วและเมื่อไม่มีอาหาร พวกเขาติดแทค GPS เพื่อตรวจวัดการอพยพของเต่าในรัศมี 6 ไมล์ จากยอดภูเขาไฟ Alcedo จนไปถึงระดับน้ำทะเล เพื่อค้นหาพื้นที่ผสมพันธุ์ ซึ่งเต่ายักษ์อาจใช้เวลาปีนเขาถึงสองเดือน พอผ่านไปหลายชั่วรุ่น ทั้งพืชและสัตว์อาจปรับตัวให้อยู่อาศัยเอาตัวรอดได้ดีขึ้น สัตว์ป่ายังคงวิวัฒนาการไป เช่นเดียวกับตัวเกาะเอง ข้อมูลเพิ่มเติม www.galapagos.org

You May Also Like