เรื่อง/รูป: พัฒนา นิธิพัฒนปัญญา
โคจิ (Kochi) จังหวัดที่ใหญ่ที่สุด แต่มีประชากรน้อยที่สุดในเกาะชิโกกุ เป็นอีกหนึ่งจังหวัดของญี่ปุ่น ที่ยังมีคนไทยไปเที่ยวไม่มาก เพราะความไม่สะดวกของการเดินทาง ไม่มีเที่ยวบินตรงจากไทย หรือกระทั่งรถไฟชิงกังเซนก็ยังไปไม่ถึง จึงทำให้จังหวัดโคจิ ยังมีความ Unseen อยู่ไม่น้อย ทั้งสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และหมู่บ้านอันเงียบสงบ ยกตัวอย่างเช่น แม่น้ำชิมันโตะ (Shimanto) แวบแรกที่เห็น ชวนให้นึกถึงทัศนียภาพของแม่น้ำแควน้อย เมื่อ 40 ปีก่อน สมัยยังไม่มีแพเธคและยังตักน้ำในยามเช้ามาหุงข้าวได้โดยไม่รังเกียจ
แม่น้ำชิมันโตะเป็นหนึ่งในแม่น้ำที่ใสสะอาดที่สุดของญี่ปุ่น เพราะอยู่ห่างไกลจากชุมชน อีกทั้งประชากรของจังหวัดก็น้อย การสร้างมลภาวะให้กับแม่น้ำจึงต่ำมาก และยังเป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดในเกาะชิโกกุด้วย จึงก่อเกิดวิถีริมน้ำหลากหลาย โดยเฉพาะการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์ อย่างวิธีจับปลาอายุโดยใช้แหเหวี่ยง เรียกว่า To-ami และHiburi-Ryo การจับปลาอายุในยามค่ำ โดยจุดคบเพลิงที่หัวเรือเพื่อทำให้ปลาตกใจแล้วต้อนปลาให้หนีไปในทิศทางที่กางแหรอไว้ ท่าเรือเล็กๆเหงาๆ มีเรือจอดอยู่ 4-5 ลำ นั่งได้เพียง10-15 คนต่อลำ เรือเล็กพาเราล่องเอื่อยๆชมทัศนียภาพสองข้างทางที่ไม่มีบ้านเรือน ไม่มีผู้คน มีแต่ธรรมชาติล้วนๆ ราวกับว่า มีเพียงเรือของเราลำเดียว ที่ล่องลอยอยู่บนโลกใบนี้ เหมือนได้ชำระจิตใจโดยไม่ต้องไปนั่งสมาธิ แต่ใช้ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติมาบำบัดแทน เรือล่องผ่านสะพานที่มีลักษณะเรียบง่ายหลายแห่ง ที่มีเพียงตอหม้อกับแผ่นพื้นเท่านั้น สะพานแบบนี้เรียกว่า Chinkabashi แปลว่า สะพานจมน้ำ เพราะในช่วงน้ำหลาก ระดับน้ำจะท่วมสูง และกระแสน้ำจะแรง การสร้างสะพานที่มีรายละเอียดมากจะเสียหายได้ง่าย จึงต้องสร้างสะพานแบบนี้เพื่อให้น้ำไหลผ่านได้สะดวก หากเกิดความเสียหายก็ซ่อมแซมง่ายและใช้งบประมาณไม่มากนัก หมู่บ้านชาวประมงเล็กๆชื่อ คุเระ (Kure) ทั้งขนาดและบรรยากาศชวนให้นึกถึงบ้านอำเภอ ของดีของเด่นในเมืองนี้ที่ต้องแวะมา คือ Kure Taisho-machi Ichiba หรือตลาดโบราณยุคไทโช ยุคสั้นๆของญี่ปุ่นที่ประชาธิปไตยเริ่มเบ่งบาน ก่อกำเนิดรากฐานการปกครองยุคใหม่ อยู่ในช่วงปี ค.ศ.1912-1926 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 ถึงต้นรัชกาลที่ 7 และตรงกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 บรรยากาศของหมู่บ้านเหมือนถูกหยุดเวลาเอาไว้ (อีกเมืองหนึ่งแล้ว) อาคารต่างๆยังคงทิ้งร่องรอยของยุคไทโชไว้ให้เห็น ที่สะดุดตาที่สุด คือ ป้ายโฆษณาเก่าของสินค้าชื่อดังอย่าง ซอส Kikkoman และMizukan ซึ่งยังขายดิบขายดีจนถึงทุกวันนี้แต่ที่ชวนรำลึกความหลังที่สุด คือ ป้ายของยากันยุงยี่ห้อคินโช ที่มีโลโก้เป็นรูปหัวไก่ เตร็ดเตร่มาถึงหน้าตลาด เห็นป้ายรูปธงปลา Somemono ธงนำโชคของชาวประมงด้านหน้าทางเข้า รู้ได้ทันทีว่านี่คือตลาดอาหารทะเล เดินเข้าไปแล้วเหมือนเดินอยู่ตลาดต่างจังหวัดบ้านเรา คุณน้านั่งขอดเกล็ดปลากับพื้น คุณยายยืนขายปลาแห้ง พี่ผู้ชายยืนแล่ปลาไหล เป็นบรรยากาศตลาดๆที่น่าเดินจริงๆ เหลือบไปดูอีกร้านเห็นมีป้ายเขียนไว้ว่า Utsubo Tataki ปลาไหลมอเรย์ย่างผิวนอกให้สุกแต่เนื้อในยังสด ที่เพิ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรก ลองขอชิมดู
“อื้ม! อร่อยไม่เบา“ พลันนึกถึงประโยคที่ว่า ในทุกตลาดย่อมมีของอร่อยแอบซ่อนอยู่เสมอ
โคจิ (Kochi) จังหวัดที่ใหญ่ที่สุด แต่มีประชากรน้อยที่สุดในเกาะชิโกกุ เป็นอีกหนึ่งจังหวัดของญี่ปุ่น ที่ยังมีคนไทยไปเที่ยวไม่มาก เพราะความไม่สะดวกของการเดินทาง ไม่มีเที่ยวบินตรงจากไทย หรือกระทั่งรถไฟชิงกังเซนก็ยังไปไม่ถึง จึงทำให้จังหวัดโคจิ ยังมีความ Unseen อยู่ไม่น้อย ทั้งสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และหมู่บ้านอันเงียบสงบ
แม่น้ำชิมันโตะเป็นหนึ่งในแม่น้ำที่ใสสะอาดที่สุดของญี่ปุ่น เพราะอยู่ห่างไกลจากชุมชน อีกทั้งประชากรของจังหวัดก็น้อย การสร้างมลภาวะให้กับแม่น้ำจึงต่ำมาก และยังเป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดในเกาะชิโกกุด้วย จึงก่อเกิดวิถีริมน้ำหลากหลาย โดยเฉพาะการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์ อย่างวิธีจับปลาอายุโดยใช้แหเหวี่ยง เรียกว่า To-ami และHiburi-Ryo การจับปลาอายุในยามค่ำ โดยจุดคบเพลิงที่หัวเรือเพื่อทำให้ปลาตกใจแล้วต้อนปลาให้หนีไปในทิศทางที่กางแหรอไว้
“อื้ม! อร่อยไม่เบา“ พลันนึกถึงประโยคที่ว่า ในทุกตลาดย่อมมีของอร่อยแอบซ่อนอยู่เสมอ