โบราณสถานหลายแห่งก่อสร้างขึ้นจากหินที่ก่อเรียงตัวกันขึ้นไปทีละก้อนๆสูงขึ้นไป ยกเว้นที่เมืองลาลีเบลา (Lalibela) แหล่งโบราณสถานสำคัญที่สุดในประเทศเอธิโอเปีย เพราะโบสถ์ทุกแห่งในเมืองศักดิ์สิทธิ์นี้ เกิดจากการนำหินดานทั้งก้อนมาสกัดเป็นโบสถ์ทั้งหลังในช่วงศตวรรษที่ 12 และ 13 ที่แห่งนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความน่าทึ่งของวิศวกรรมในยุคโบราณ เพราะกระบวนการก่อสร้างนั้นเสมือนกลับหัวกลับหาง โดยปกติแล้วการสร้างอะไรขึ้นบนพื้นที่ใดๆก็เป็นรูปแบบการก่อร่างสร้างขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ชาวเอธิโอเปียนสร้างโบสถ์อลังการมรดกโลกนี้ ด้วยการสกัดหินลงไปเป็นโพรง นั่นหมายถึงหากถ้าทำอะไรผิดไป ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ เพราะได้ตัดหินลงไปแล้ว Lalibela มีโบสถ์จำนวน 12 หลังซึ่งสร้างด้วยการสกัดหินลงไป แต่เดิมเมืองนี้นับว่าอยู่ไกลโพ้น แทบไม่มีใครรู้จัก ในยุคที่กษัตริย์เอธิโอเปียนสร้างขึ้นใหม่ๆ พระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้เมืองแห่งนี้เปรียบดั่งเยรูซาเล็มแห่งแดนแอฟริกา แต่ก็ยังคงเปี่ยมด้วยจินตนาการ แนวคิดแสนมหัศจรรย์ ไม่ได้น้อยไปกว่า นครโบราณเปตรา ในจอร์แดน หรือ พีระมิดที่อียิปต์ โบสถ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ Bet Giyorgis หรือโบสถ์นักบุญจอร์จ และเมืองนี้ยังเป็นศูนย์กลางโบสถ์เอธิโอเปียออร์โธด็อกซ์ หนึ่งในนิกายเก่าแก่ที่สุดของศาสนาคริสต์ ซึ่งผู้แสวงบุญมากมายเดินทางมาสวดภาวนาที่เมืองนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม