ในวันที่ 24 กรกฎาคม ปี 1911 อากาศค่อนข้างร้อนแล้ง ศาสตราจารย์ด้านโบราณคดีชาวอเมริกันผู้สูงยาวเข่าดี นามว่า “ไฮแรม บิงแฮม” (Hiram Bingham III) กวัดกวาดมีดด้ามใหญ่ เพื่อถางรกพงไปตลอดทางในป่าที่ดูราวกับจะไม่มีจุดสิ้นสุด อีกทั้งตามสุมทุมพุ่มไม้ก็ยังมีงูเงี้ยวเขี้ยวขอซ่อนตัวอยู่เรื่อยไป
ในปีนั้น หลังจาก บิงแฮม ฝ่าป่าดงจนโผล่ออกไปที่ไหล่เขาเหนือหุบเขาศักดิ์สิทธิ์ ภาพชวนตะลึงที่ออกมาทักทายเขา คือ ซากป้อมปราการของชนเผ่าอินคาอันยิ่งใหญ่อลังการภายใต้เถาไม้เลื้อย
ใช่แล้ว นั่นล่ะ “มาชูปิกชู” !! ในปัจจุบัน เราเห็นภาพมาชูปิกชู มาจนชินตาไปแล้ว แต่ถ้าลองนึกย้อนกลับไปกว่าศตวรรษก่อน ก็เดาไม่ยากเลยว่า ผู้ค้นพบอาณาจักรที่หายสาบสูญ จะตื่นเต้นมากมายขนาดไหน ซากหินที่ดูราวกับเขาวงกต มีทั้งอาราม บ้านเรือน โรงงานไร้หลังคา ระเกะระกะอยู่บนสันเขาสูงชันโอบล้อมไว้ด้วยระเบียง ปกคลุมด้วยหญ้า ลดหลั่นลงมาเป็นขั้นบันได ก่อนจะลาดชันลงไปหลายร้อยเมตรลงสู่หุบเหวเบื้องล่าง สิ่งที่ตระหง่านอยู่ด้านบน คือ เวย์นา ปิกชู (Wayna Picchu) ยอดเขาทรงกลมปกคลุมด้วยใบหญ้าเขียวชอุ่ม และห่อหุ้มไว้ด้วยปุยเมฆ ซึ่งปลายยอดเขาจะส่องแสงเรืองรองเมื่อต้องแสงอาทิตย์ยามเช้า ลำแสงสีทองที่อาบไล้ลงมาตามไหล่เขา ราวกับน้ำผึ้งอุ่นที่กำลังไหลลงมาช้าๆ ความจริงแล้ว ไฮแรม บิงแฮม ไม่ใช่คนแรกที่ค้นพบซากปรักหักพังแห่งนี้ กลุ่มชาวนาท้องถิ่นเป็นคนพาเขามาที่นี่ และชาวเกชัวท้องถิ่น ก็อาศัยอยู่บริเวณชายขอบของอาณาจักรยิ่งใหญ่มาก่อน
แต่ไฮแรม คือ ผู้ที่จุดประกายให้นานาชาติหันมาสนใจสถานที่แห่งนี้ ซึ่งไม่มีใครสนใจให้ความสำคัญมานานหลายร้อยปี การสำรวจทางโบราณคดี และวิเคราะห์วัตถุที่เหลืออยู่ราว 45,000 ชิ้น ซึ่งบิงแฮมนำไปเก็บไว้ที่มหาวิทยาลัยเยล (และถูกคำสั่งศาลให้นำมาคืน ในปี 2012 ) ก็พบว่า อาณาจักรมาชูปิกชู เป็นของชาวอินคาซึ่งถูกทิ้งร้างไปในศตวรรษที่ 16 เหตุผลของการสร้างขึ้นในสถานที่ห่างไกลและสูงชัน ยังคงเป็นปริศนา เช่นเดียวกับวิธีการสร้าง ซึ่งทุกอย่างนั้นสมบูรณ์แบบได้อย่างไม่น่าเชื่อ ส่วนการทิ้งร้างนั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเรื่องโรคฝีดาษ หรือการพิชิตโดยกองทัพสเปน แต่ก็ยังไม่มีใครรู้แน่สักคน Make it Happen
– มาชูปิกชู ได้รับการรับรองให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมโดยองค์การยูเนสโก ในปี 1983
– ในปี 2007 อาณาจักรอารยธรรมอินคาแห่งนี้ ได้รับการลงคะแนนให้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่
– ศาสตราจารย์ไฮแรม บิงแฮม นับเป็นบุคคลต้นแบบของการสร้างตัวละครสำคัญที่เป็นตำนานของโลกภาพยนตร์ นั่นคือ อินเดียนา โจนส์ นักท่องเที่ยวชาวไทย สามารถพำนักในเปรูได้ 90 วัน โดยไม่ต้องใช้วีซ่า
ข้อมูลท่องเที่ยวเพิ่มเติม www.machupicchu.org
ในปีนั้น หลังจาก บิงแฮม ฝ่าป่าดงจนโผล่ออกไปที่ไหล่เขาเหนือหุบเขาศักดิ์สิทธิ์ ภาพชวนตะลึงที่ออกมาทักทายเขา คือ ซากป้อมปราการของชนเผ่าอินคาอันยิ่งใหญ่อลังการภายใต้เถาไม้เลื้อย
ใช่แล้ว นั่นล่ะ “มาชูปิกชู” !! ในปัจจุบัน เราเห็นภาพมาชูปิกชู มาจนชินตาไปแล้ว แต่ถ้าลองนึกย้อนกลับไปกว่าศตวรรษก่อน ก็เดาไม่ยากเลยว่า ผู้ค้นพบอาณาจักรที่หายสาบสูญ จะตื่นเต้นมากมายขนาดไหน ซากหินที่ดูราวกับเขาวงกต มีทั้งอาราม บ้านเรือน โรงงานไร้หลังคา ระเกะระกะอยู่บนสันเขาสูงชันโอบล้อมไว้ด้วยระเบียง ปกคลุมด้วยหญ้า ลดหลั่นลงมาเป็นขั้นบันได ก่อนจะลาดชันลงไปหลายร้อยเมตรลงสู่หุบเหวเบื้องล่าง
แต่ไฮแรม คือ ผู้ที่จุดประกายให้นานาชาติหันมาสนใจสถานที่แห่งนี้ ซึ่งไม่มีใครสนใจให้ความสำคัญมานานหลายร้อยปี การสำรวจทางโบราณคดี และวิเคราะห์วัตถุที่เหลืออยู่ราว 45,000 ชิ้น ซึ่งบิงแฮมนำไปเก็บไว้ที่มหาวิทยาลัยเยล (และถูกคำสั่งศาลให้นำมาคืน ในปี 2012 ) ก็พบว่า อาณาจักรมาชูปิกชู เป็นของชาวอินคาซึ่งถูกทิ้งร้างไปในศตวรรษที่ 16
– มาชูปิกชู ได้รับการรับรองให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมโดยองค์การยูเนสโก ในปี 1983
– ในปี 2007 อาณาจักรอารยธรรมอินคาแห่งนี้ ได้รับการลงคะแนนให้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่
– ศาสตราจารย์ไฮแรม บิงแฮม นับเป็นบุคคลต้นแบบของการสร้างตัวละครสำคัญที่เป็นตำนานของโลกภาพยนตร์ นั่นคือ อินเดียนา โจนส์
ข้อมูลท่องเที่ยวเพิ่มเติม www.machupicchu.org