เหนือความกันดารยังมีปราดา

ตามหาปราดาสุดขอบชายแดนตะวันตกของอเมริกา
ขับรถไปทางตะวันตกของเมืองลาฮิตาส ผ่านไปทาง Presidio มุ่งไปทางเหนือสู่ถนนสาย 67 บนเส้นทางมุ่งสู่ Marfa (มาร์ฟา) และ El Paso บนเส้นทางสายเลียบแม่น้ำ จุดทีไกลสุดของเขตอุทยานแห่งชาติบิ๊กเบน คือช่วงทีมีทิวทัศน์สวยงามน่าตื่นตะลึงของโตรกผาและสายน้ำ Rio Grande เบื้องล่าง พอผ่านเมืองมาร์ฟาไปราวครึ่งชั่วโมง บนถนนที่ทอดยาวกลางทะเลทราย มีนกโรดรันเนอร์วิ่งข้ามถนน และหมาป่าโตโยตีวิ่งอยู่ริมทางให้เห็นเป็นระยะ ริมไฮเวย์ร้อนแล้งในดินแดนไกลโพ้นของเท็กซัสตะวันตก คุณจะได้พบกับ ‘PRADA MARFA’ อยู่ที่นั่น และมันไม่ใช่ภาพหลอนจากทะเลทรายเสียด้วย  ‘PRADA MARFA’ ซึ่งตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว ราวกับเป็นโชว์รูมในดินแดนที่ห่างไกลที่สุดของโลกก็ว่าได้..
แต่อย่าคาดหวังว่าคุณจะได้ซื้อหาข้าวของใดๆ กลับไปได้จากที่นี่ เพราะอันที่จริง ‘PRADA MARFA’ ที่ใครๆ ก็ต้องหยุดแวะถ่ายรูปด้วยความฉงนสนเท่ห์ ว่าแบรนด์หรูมาทำเปิดสาขาท่ามกลางถนนอันเปลี่ยวร้างริมทะเลทรายนั้น เป็น ART Intallation Project  ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 2005 PRADA MARFA  ที่ดูเผินๆ เป็นโชว์รูมปราดา คืองาน Installed Sculpture โดย ศิลปิน Michael Elmgreen กับ Ingar Dragset โดยความร่วมมือของปราดา ภายในมีทั้งชั้นโชว์รองเท้า และกระเป๋าแบรนด์หรูวางแสดงไว้ราวกับรอลูกค้ามาจับจอง  บัดนี้ร้านทรุดโทรม ฝาผนังด้านข้างถูกพ่นด้วยกราฟิตติ ลายพร้อย เป็นไปตามความตั้งใจของศิลปินที่จะปล่อยให้มันเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา ด้วยวัสดุที่ใช้ก่อสร้างที่ย่อยสลายได้ ว่ากันว่าในวันทีเปิดมีคนมาทุบกระจกขโมยของไป และเกิดขึ้นอีกหลายครั้งกว่าจะได้รับการซ่อมแซมและอยู่รอดมาให้เห็นเป็นแลนด์มาร์กสำคัญบนไฮเวย์สาย 90 จนทุกวันนี้ สำหรับเมืองมาร์ฟามีประชากรราวสองพันคน เมืองนี้มีชื่อเสียงครั้งแรกในปี 1956 เมื่อร็อต ฮัดสัน อลิซาเบท เทย์เลอร์ และเจมส์ ดีน มาใช้เวลาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Gaint

โดยเป็นหนังหนึ่งในสามเรื่องสุดท้ายที่เขาแสดงไว้ และเจมส์ ดีนยังได้เขาชิงรางวัลนักแสดงนำยอดเยี่ยมอีกด้วย เมืองมาร์ฟายังกลายเป็นเมืองที่คนรักศิลปะต้องแวะเวียนมาชม ทั้งอาคารสถานที่และบรรยากาศที่เหมือนกันพิพิธภัณฑ์ที่ยังมีชีวิต เมืองนี้ยังมีแกลเลอรีศิลปะมากมายราวกับหลุดจากกาลเวลา ในดินแดนสุดขอบตะวันตกของสหรัฐอเมริกาติดกับชายแดนเท็กซัส

You May Also Like